ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกระบวนธรรม ไม่ต้องอาศัยปัจจัยอย่างอื่น แต่มีปรากฏอยู่แล้ว แก่บุคคลผู้มีปัญญา
พึงเห็นได้เอง ดังที่ท่านกล่าวไว้ใน ปฏิสัมภิทามรรค ว่า
“ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะหมายถึง ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณาทำให้เห็นแจ่มแจ้ง
ว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ อวิชชา ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะว่า
ไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในนิพพาน เป็นที่ดับรูป....อวิชชา...ชราและมรณะ (อันเป็นอนัตตา)
สภาพธรรมนั้นก็ชื่อว่า เป็นสิ่งที่มีอำนาจเป็นของตนเอง พึ่งตนเองได้ (อตฺตที่ปา อตฺตสรณา) ไม่
เป็นไปเพื่ออาพาธ ถูกบีบคั้น) จะเรียกว่า เป็นอัตตาตัวตนของตนเองที่แท้จริงก็ย่อมได้ ดังเช่นที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสใน อนัตตลักขณะสูตร ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูป....วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้วไซร้ รูป...วิญญาณนี้ก็ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ” ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่รูป...วิญญาณจะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ เพราะเป็นสิ่งที่
มิใช่ตัวตนแท้จริง(อนัตตา) แต่มีอยู่สิ่งเดียวเท่านั้นที่ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ สิ่งนั้น คือ พระนิพพาน
อันเป็นสภาพที่น่าปรารถนา น่าอยู่ น่าไปสัมผัส
จากคุณลักษณะที่น่าปรารถนาของนิพพานที่กล่าวมา 3 ประการนั้น เป็นการกล่าวเฉพาะคุณ
ลักษณะเด่น เพื่อให้เห็นความน่าปรารถนาของนิพพาน ที่ควรแก่การปฏิบัติไปให้ถึงนิพพานในอนาคตให้ได้
ซึ่งความจริงแล้วยังมีคุณลักษณะที่น่าปรารถนาของนิพพานอีกมาก เช่น ไม่มีการทะเลาะวิวาท ไม่มีการ
เบียดเบียน เป็นที่สงบเย็น เป็นต้น ซึ่งหากนักศึกษาต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถค้นหาจากตำรา
วิชาการด้านพระพุทธศาสนาได้ทั่วไป
8.6 เตรียมความพร้อมไปสู่นิพพาน
การจะเดินทางไปไหนก็ตาม ในโลกมนุษย์นี้จะต้องมีการเตรียมการ เตรียมเสบียงให้พร้อม จึงจะ
บรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้ฉันใด การจะไปนิพพานอันเป็นบรมสถานที่ปราศจากทุกข์ เป็นบรมสุข และ
เป็นหนทางที่แสนยาวไกล เราจำเป็นต้องมีการเตรียมการอย่างดี จึงจะบรรลุถึงจุดหมายได้ฉันนั้นเหมือนกัน
การเตรียมตัวไปนิพพานแม้จะไม่เหมือนกับการเตรียมเดินทางในโลกนี้ ก็ตาม แต่มีสิ่งหนึ่งที่
คล้ายคลึงกัน คือ ต้องมีการศึกษาตามลำดับ จากท่านผู้รู้ทั้งหลายในอดีต ในคัมภีร์พุทธศาสน์ได้กล่าวถึง
การเตรียมตัวที่เรียกว่า การบำเพ็ญบารมีเพื่อไปนิพพานของท่านผู้รู้ 4 ประเภท คือ
1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. พระปัจเจกพุทธเจ้า
3. พระอัครสาวก
4. พระอรหันตสาวกปกติ
166 DOU
ป ร โ ล ก วิ ท ย า