ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภาวนา - จิต
ให้มาก” ตอนที่อยู่วัดก็ตั้งใจว่าถึงบ้านจะนั่งสักชั่วโมง แต่พอถึงบ้าน
นั่งได้ ๑๕ นาทีก็ว่าเยอะแล้ว นั่งไปได้ ๓ คืน ชักท้อ แหม...วันก่อนนี้
นั่งเป็นชั่วโมงที่วัด เอามาเฉลี่ยๆ กัน วันนี้นั่ง ๕ นาทีก็พอ ความเพียร
ของเรามี แต่มันย่อหย่อน ไม่ค่อยจะเพียรพยายามให้มากขึ้น
มรรคองค์ที่ ๗ สัมมาสติ มีสติชอบ ให้ตรวจสอบดูว่า เรามี
สติกำกับดีแค่ไหน อย่ามีสติแบบเด็กๆ นะ ขอให้มีแบบผู้ใหญ่
สติแบบเด็กๆ เช่น อยากกินเหล้าก็เลยอ้างว่ายิ่งกินยิ่ง
ขับรถเก่งมีสติดี ความจริงสติขาดตั้งแต่ตอนที่คิดจะกินเหล้านั่นแล้ว
พอควักเงินซื้อเหล้า สติก็ขาดหนักขึ้นอีก
สติแบบผู้ใหญ่เป็นอย่างไร? สติแบบผู้ใหญ่เป็นเรื่อง
ของการประคองใจ ให้ทำความดีจนตลอดรอดฝั่ง เช่น ตื่นเช้าขึ้นมาก็
ตั้งใจนึกถึงดวงแก้วนึกถึงองค์พระไว้ในตัว กำลังนึกอยู่ดีๆ ก็มีเรื่องอื่น
แวบเข้ามา ถ้าเรื่องนั้นสามารถดึงใจให้แวบออกจากตัวได้เมื่อไร ก็ถือ
ว่าขาดสติแบบผู้ใหญ่เมื่อนั้น พวกเราที่นั่งอยู่บนศาลานี้ ความสามารถ
ในการควบคุมสติยังใช้ไม่ได้ทั้งนั้นแหละ แม้หลวงพ่อเองก็เหมือนกัน
ยังต้องฝึกอีกมาก ผู้ที่สติดีสม่ำเสมอตลอด เวลามีเพียงคนเดียวในโลก
คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รองลงมาคือพระอรหันต์ นอกนั้นยังใช้ไม่ได้
ยังต้องฝึกต่อไป เพราะฉะนั้นถ้าใครมาพูดว่าผมสติดีเหลือเกิน คนนั้น
เสียสติขนาดหนัก เมื่อเป็นอย่างนี้เราก็เลยต้องฝึกสติกับฝึกสมาธิ ให้
เป็นของคู่กัน ฝึกสติเมื่อไรก็ถือว่าได้ฝึกสมาธิเมื่อนั้น ฝึกสมาธิเมื่อไร
ก็จะได้สติเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นการประคองใจนึกถึงดวงแก้ว นึกถึงองค์
พระนั้นจริงๆ แล้วเป็นการฝึกสติ
มรรคองค์ที่ ๔ สัมมาสมาธิ มีสมาธิชอบ คือใครก็ได้ ถ้าใจ
นิ่งได้ก็เป็นสัมมาสมาธิระดับหนึ่ง พอใจนิ่งมั่นคง ความสว่างจะเกิด
ตามมา พอความสว่างเกิด ปัญญาก็เกิด ทำให้เริ่มรู้แล้วว่าบุญบาป
พระภาวนาวิริยคุณ 14 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)