การปลุกพระและผลกระทบ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 85
หน้าที่ 85 / 137

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปลุกพระ โดยชี้แจงว่าการปลุกพระที่ถูกต้องคือการปลุกตัวเองให้มีคุณธรรมและไม่เพียงแค่การถือพระเครื่องหรือวัตถุมงคล เมื่อลองทำการกลั้นลมหายใจกับสิ่งของใด ๆ ก็สามารถทำให้มีอาการสั่นได้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าความเชื่อนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และอาจเป็นอันตรายมากกว่าผลดี คำว่า “ปลุกพระ” ควรเป็นการเรียกร้องให้เกิดจิตใจที่ดี ดีนะที่มีการสอนเพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาดในศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การปลุกพระ
-ข้อเสียของการปลุกพระ
-ความเข้าใจผิดในศาสนา
-วิทยาศาสตร์และศาสนา
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ๔๓. ปลุกพระ - ปลุกเปรต คนที่ชอบปลุกพระ นำพระเครื่อง หรือพระบูชามาอาราธนาเข้า ตัว เพื่อให้พระคุ้มครอง ทางด้านเมตตา หรือทางหนัง เหนียว คนที่ชอบทำแบบนี้จะมีผลเสียอย่างไรแก่ตัวเขา หรือไม่ และบุคคลที่ชวนให้เขาทำแบบนี้ด้วย จะมีข้อ เสียอย่างไรครับ ? นี่ก็เป็นความเข้าใจผิดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนหลวงพ่อก็ เคยมีความเข้าใจผิดอย่างนี้เหมือนกัน ก็เคยไปเห็นเขาทำอย่างนี้นะ เขา เอาพระเครื่องใส่มือ แล้วประเดี๋ยวเดียวก็สั่นพับๆ เชียว เอ๊ะ...ทำไม สั่น ? ก็ลองทำดูบ้าง ก็ได้ข้อสังเกตว่า ถ้าเอาใส่มือเฉยๆ น่ะ ยัง....ยังไม่สั่น ต้อง กลั้นลมหายใจด้วย พอกลั้นลมหายใจเข้า โดยเฉพาะเกร็งที่หน้าท้อง สักหน่อยเดี๋ยวมันก็สั่น นี่ก็เป็นเรื่องของด้านสรีรศาสตร์ เรื่องทาง วิทยาศาสตร์ อย่าว่าจะต้องมีพระเครื่องเลย จริงๆ แล้วไม่ต้องมีพระ เครื่องใส่มือหรอก เอาก้อนดินใส่มือไปก็ได้ หรือเอาอะไรใส่ก็ได้แล้ว กลั้นลมหายใจ พอหายใจไม่ออกเดี๋ยวมันก็สั่นเอง สั่นอย่างนี้เขาไม่เรียก ว่าปลุกพระหรอก เขาเรียกว่าปลุกเปรต ถ้าสิ่งที่เขาปลุกขึ้นมาได้เป็น พระจริงๆ พระต้องสำรวม นี่มาดิ้นพับๆ ดิ้นอย่างนี้เปรตนะ เปรตมัน ไม่สำรวม มันดิ้น ให้รู้ไว้ด้วย คำว่า “ปลุกพระ” นั้น มาจากคำเต็มว่า “ปลุกตัวเองให้เป็น พระ” พูดสั้นๆ แบบคนไทยเหลือแต่หัวกับท้ายเอาไว้ ก็เลยเหลือแค่ ปลุกพระ เหมือนอย่างกับคำว่า “คนใช้” จะแปลว่าไปใช้คนอื่นใช่ไหม ไม่ใช่นะ คำเต็มมาจากคำว่า “คนที่คอยรับใช้” เหลือแต่หัวกับท้าย กลาย เป็นคนใช้ ห ล ว ง พ่ อ 85 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More