ภาวนาจิต: การเข้าถึงศูนย์กลางของจิต หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 112
หน้าที่ 112 / 137

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเข้าถึงศูนย์กลางของจิตในศาสตร์การภาวนา โดยเชื่อมโยงกับแนวคิดทางฟิสิกส์ที่ว่าเมื่อจิตใจอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะไม่มีอะไรสามารถเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยวหรือเครื่องกังวลเราได้. ทุกครั้งที่เรารู้สึกโกรธหรือกังวล เรามักจะหลุดจากศูนย์กลางของตนเอง ทำให้จิตใจถูกดึงไปอยู่ที่สิ่งอื่น ซึ่งส่งผลให้เกิดความวิตกกังวล หากจิตพ้นจากการเกาะติดสิ่งเหล่านี้ได้ จะนำมาซึ่งความสงบสุข หลวงปู่หลวงตาได้เสนอวิธีการสอนสมาธิที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์แต่ทุกคนมีจุดหมายเดียวกันคือการเข้าถึงพระนิพพาน อย่างไรก็ตาม เส้นทางของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน. สูตรสำคัญคือการนำจิตของเราให้กลับสู่ตัวเอง เพื่อความสงบสุขในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ภาวนา
-จิตใจ
-ศูนย์กลางกาย
-การควบคุมอารมณ์
-เส้นทางสู่พระนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต เข้า CENTER OF GRAVITY ได้เมื่อไร ทางโลกกับทางธรรมจะตรง กัน MOMENTUM หรือแรงเหวี่ยงจะไม่มี ท่านพูดเรื่องของจิตใจใน เชิงฟิสิกส์ว่า ถ้าใจอยู่ในตำแหน่งนี้แล้ว อะไรก็ไม่สามารถมาเป็น เครื่องหน่วงเหนี่ยว มาเป็นเครื่องกังวลแก่เราได้ เมื่อพิจารณาแล้วก็เห็นจริงอย่างท่านว่า เพราะนึกทบทวนดู แล้วก็พบว่าทุกครั้งที่เราโกรธใคร ตอนนั้นใจของเราไม่ได้อยู่กับตัวเลย มันไปอยู่ที่หน้าเจ้าคนที่เราโกรธ อยากจะเหยียบหน้ามันให้เละ ใจเรา แล่นไปยังคนที่เราโกรธ ในขณะที่ตัวเรายังไม่ได้ขยับเขยื้อนสักนิด ทุกครั้งที่ใจหลุดออกจากตัว หลุดจากศูนย์กลางกาย ก็เหมือน ทหารถูกลวงให้หลุดออกจากบังเกอร์ในสนามรบ ศัตรูมันล่อเอาไปขย้ำ สำเร็จแล้ว ความชั่ว ความไม่ได้เรื่องทั้งหลายก็ล่อเราเอาไปขย้ำใน ทำนองเดียวกันนี้แหละ ใจมันไปเกาะอยู่ที่รูปสวยๆ เขาจะลากไปย่ำยี อย่างไรก็ได้ แม้ที่สุดทุกครั้งที่เรากลุ้มใจ กลัวจะถูกโยกย้าย ใจเราก็ ไปเกาะอยู่ที่ผู้บังคับบัญชา แล้วก็คิดไปสารพัด ท่านจะเอาอย่างไรกับ เราหนอ ใจเราตามท่านไปทุกฝีก้าวทีเดียวแหละ ใจของพวกเราหลุดออกจากตัวจนคุ้น พอถูกสั่งให้เอาใจ กลับเข้ามาเก็บไว้ในตัว มันจึงรู้สึกว่ายากแสนยาก หลวงปู่หลวงตา เวลาสอนสมาธิ ท่านก็ใช้วิธีที่ท่านคุ้นเคย แล้วก็สังเกตดูเถอะ จะพบ ว่าวิธีของแต่ละท่านจะแตกต่างจากครูบาอาจารย์ของท่านเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายทุกคนก็จะไปถึงที่เดียวกัน คือพระนิพพาน ต่างแต่ว่าใครจะถึงช้าถึงเร็วกว่ากัน เพราะเส้นทางของแต่ละคน คดเคี้ยวมากน้อยต่างๆ กันไป พระภาวนาวิริยคุณ 112 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More