การภาวนาและการเข้าถึงธรรมกายในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 123
หน้าที่ 123 / 137

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เกี่ยวกับประสบการณ์ของอาบังในการนั่งภาวนาในโบสถ์ โดยเฉพาะช่วงเวลาตั้งแต่บ่ายโมงถึงบ่ายสามโมงซึ่งมีความท้าทายทางกายและจิตใจ อาบังแสดงระยะเวลาในการนั่งสมาธิถึง 3 ชั่วโมงซึ่งทำให้รู้สึกปวดเมื่อยและท้อถอย แต่เมื่อยอมรับความตายความปวดกลับหายไป เขาสามารถเข้าถึงธรรมกายได้ในที่สุด บทความยังแนะนำถึงแนวทางการปฏิบัติที่ช่วยเพิ่มกำลังบุญ ได้แก่ การให้ทาน การรักษาศีล และการนั่งภาวนา เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าถึงธรรมได้เร็วขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการภาวนา
-ประสบการณ์ของอาบัง
-การเข้าถึงธรรมกาย
-แนวทางการปฏิบัติ
-เหตุผลที่ควรมีสติในชีวิตประจำวันที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ฉะนั้นใจมันถึง ตกลงหลวงพ่อก็พานั่งกันในโบสถ์ นั่งกันตั้งแต่ ประมาณบ่ายโมง พอบ่าย ๓ โมง อาบังลืมตาขึ้น หลวงพ่อก็ยังเฉย เขาก็หลับตาต่อ คนไม่เคยนั่งพอเข้าชั่วโมงที่ ๒ มันปวดเมื่อยมาก ขามันสั่น พับๆ ถึงกับเหงื่อหยดทีเดียว ลืมตาขึ้นมาหลวงพ่อก็ยังเฉย ก็หลับตา ต่อ พอเข้าชั่วโมงที่ ๓ สำหรับคนที่ไม่เคยนี่เอาเรื่องนะ ชั่วโมงที่ ๓ มันปวดสุดทนเข้า มันก็เลยคิดยอมตาย อาบังบอกว่าพอมันคิดว่าตายก็ตายไปเท่านั้นแหละ ความ ปวดมันเลยหาย มันมีความรู้สึกเหมือนตกหลุมอากาศหวีดลงไป ตาย แน่แล้วงวดนี้ พอหวีดลงไป เอ้า...ตายก็ตาย เดี๋ยวเดียวองค์พระโผล่ ขึ้นมาเลย อาบังได้เข้าถึงธรรมกายภายในวันนั้น ในชั่วโมงที่ ๓ แต่นั่น หมายความว่าได้ยอมสละชีวิตแล้วนะ ถ้าชั่วโมงที่ ๓ ไม่ได้ก็ชั่วโมงที่ ๔ ไม่อย่างนั้นตายจริงๆ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านใช้สโลแกนของท่าน สั้นๆ ว่า “สู้ไม่ได้ตายเถอะ” เพราะฉะนั้นถ้ามีใครอยากเห็นเร็วๆ ก็ ต้อง “สู้ไม่ได้ตายเถอะ” ใช้สโลแกนเดียวกับท่าน เอาไหม ถ้าเอา....มา ถ้าอยากเข้าถึงธรรมกายเร็วๆ นอกจากทั้งนั่งสมาธิชนิดเอา ชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว ยังมีวิธีปฏิบัติเพื่อเพิ่มกำลังบุญ สรุปสั้นๆ ว่า “เช้าใดยังไม่ได้ให้ทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งกินข้าว วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่าเพิ่งออกจากบ้าน คืนใดยังไม่ได้นั่งภาวนา คืนนั้นอย่าเพิ่งนอน” ตั้งใจทำไปอย่างนี้ไม่ช้าหรอก วันใดวันหนึ่ง กำลังบุญรวมเต็มที่ ก็เข้าถึงธรรมกายได้เหมือนกัน ห ล ว ง พ่ อ 123 ตอบ ปัญหา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More