ภาวนาและการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 106
หน้าที่ 106 / 137

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกสมาธิและการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระโกณฑัญญะพราหมณ์ที่ได้แสดงถึงความสำคัญของการฝึกสมาธิในการเข้าถึงธรรม พร้อมกับการกล่าวถึงพระสาวก เช่น พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ที่ได้พัฒนาความรู้ด้านศิลปศาสตร์ 18 แขนง และฝึกสมาธิเพื่อบรรลุพระอรหันต์ในที่สุด. การสนทนาเกี่ยวกับพระทัพพมัลลบุตรที่แม้ไม่ได้กล่าวถึงการทำสมาธิในพระไตรปิฎก แต่มีกระบวนการฝึกสำคัญต่อการเข้าถึงธรรม.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-พระโกณฑัญญะ
-พุทธศาสนา
-พระสาวก
-การบรรลุธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต โกณฑัญญะพราหมณ์ได้ฝึกสมาธิรอไว้แล้วตั้งแต่ตอนนั้น พอ ถึงเวลาที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุ ๒๔ ชันษา ท่านพร้อมด้วยพราหมณ์ทั้ง ๔ ก็ออกบวชตามไปอยู่ด้วย เมื่อพระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทรงแสดง ปฐมเทศนา พระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนใครอื่น เพราะฝึกสมาธิเป็นพื้นฐานมานาน พอฟังเทศน์ปุ๊บ...ก็เข้าถึงธรรมกาย เป็นพระโสดาบันทันที แม้พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอัครสาวก เบื้องซ้ายและเบื้องขวา ก่อนจะมาเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทั้งสองก็สำเร็จศิลปศาสตร์ ๑๘ แขนง แล้วท่านก็ฝึกสมาธิอย่างดี จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ก็มีพระอรหันต์บางรูป เช่น พระทัพพมัลลบุตร เป็นพระ อรหันต์ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงการทำสมาธิ ไว้เลย แต่ถ้าเราไปอ่านดูในอรรถกถา (เป็นคัมภีร์ขยายความพระไตร ปิฎก) จะพบว่าท่านเคยเกิดในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม ว่ากัสสปะ สมัยนั้นเมื่อท่านออกบวชแล้ว ท่านกับเพื่อนอีก ๔ รูป เห็น ว่าศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าใกล้จะสูญแล้ว จึงชวนกัน ขึ้นไปบนภูเขาทางหน้าผาขาด ปืนพะอง (๑๔) ขึ้นไป พอขึ้นไปถึงยอดเขา ก็ผลักพะองทิ้ง แล้วต่างตั้งสัตยาธิษฐานว่า ตราบใดถ้ายังไม่หมดกิเลส เป็นพระอรหันต์ ก็ขอยอมตายอยู่บนยอดเขานี้ จะไม่ยอมลุกจากที่ไป บิณฑบาตเป็นอันขาด ๓ วันผ่านไป พระภิกษุรูปหนึ่งได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่าน จึงเหาะไปบิณฑบาตนำอาหารมาให้เพื่อนฉัน เพื่อนพระภิกษุอีก ๔ รูป พระภาวนาวิริยคุณ 106 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More