การภาวนาและจิตตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 30
หน้าที่ 30 / 137

สรุปเนื้อหา

การศึกษาเกี่ยวกับการภาวนาและการเข้าถึงธรรมกายตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ บทความนี้กล่าวถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับธรรมกายและความสำคัญของการปฏิบัติสมาธิ ตลอดจนความเชื่อถือในคำสอนและศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติมีศรัทธาและเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติได้ง่ายขึ้น การปฏิบัติตามคำแนะนำของหลวงพ่อวัดปากน้ำจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงธรรมกายในตัวได้อย่างมั่นใจ

หัวข้อประเด็น

-ภาวนาและสมาธิ
-ธรรมกาย
-คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
-ศึกษาพระพุทธศาสนา
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต อะไร? แต่ไม่แน่ว่าอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า รุ่นหลานรุ่นเหลนของเรา น้ำพริกของเขาจะหน้าตาเหมือนน้ำพริก ของเราหรือเปล่าก็ไม่รู้ ตำราที่เขียนเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ ได้เขียนศัพท์คำว่า ธรรมกายเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ ก็นึกตามไม่ได้ หลวงพ่อวัด ปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี) ท่านค้นคว้าในสมาธิจนเข้าถึงธรรมกาย ได้รู้ได้เห็นด้วยตัวของท่านเอง และบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติเอาไว้ ศัพท์ ที่ท่านใช้ปรากฏว่าตรงกับศัพท์ดั้งเดิม ตรงกับตำราที่บันทึกไว้เป็น หลักฐาน นักศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาจึงควรมั่นใจได้ว่า ท่านไม่ได้ พูดนอกตำรา ส่วนคำว่าฐานที่ ๗ หรือฐานต่างๆ ที่ท่านยกมาเป็นคำ สอน ก็เป็นข้อแนะนำในทางปฏิบัติ เป็นศัพท์ที่ท่านบัญญัติขึ้น เพื่อ สอนลูกศิษย์ ใครก็ตามที่เข้าถึงธรรมกายในตัวแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะ ตรงฐานที่ ๗ หรือไม่ แม้ที่สุดคำภาวนาว่า สัมมา อะระหัง ก็ไม่จำเป็น ต้องเอามาภาวนาอีก หลวงพ่อว่าเราลงมือปฏิบัติตามคำที่ท่านสอนก่อนดีกว่า อย่ามัวไปติดใจสงสัยในศัพท์แสงอะไรให้มากนักเลย เข้าถึงธรรม กายแล้วจะเลิกสงสัยเอง พระภาวนาวิริยคุณ 30 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More