การเลือกสำนักปฏิบัติธรรมอย่างมีสติ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 108
หน้าที่ 108 / 137

สรุปเนื้อหา

การเลือกสำนักปฏิบัติธรรมมีความสำคัญ โดยแนะนำให้ศึกษาเรียนรู้จากพระไตรปิฎกก่อนเพื่อตั้งหลักและใช้เป็นแนวทางในการเลือกสำนักที่เหมาะสม ควรตรวจสอบพฤติกรรมของเจ้าสำนักและลูกศิษย์เพื่อประเมินความถูกต้องตามแนวทางพระธรรม หากเจ้าสำนักมีความประพฤติและการปฏิบัติที่ดีเป็นที่น่าชื่นชม ควรให้ความสำคัญและเลือกสำนักนั้นเป็นที่ฝึกฝน นอกจากนี้ การเข้าถึงเจ้าสำนักใหญ่ๆ อาจจะยาก จึงแนะนำให้สังเกตพฤติกรรมของลูกศิษย์เพื่อทำการเลือกอย่างมีสติ.

หัวข้อประเด็น

-การเลือกสำนักปฏิบัติธรรม
-พระไตรปิฎก
-การประพฤติของเจ้าสำนัก
-การสังเกตลูกศิษย์
-ความสำคัญของการภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ๕๔. เลือกสำนัก หลวงพ่อครับ เดี๋ยวนี้มีสำนักปฏิบัติธรรมมากมาย แต่ละแห่งก็ ว่าของตัวเองดีทั้งนั้น จะรู้ได้อย่างไรละครับว่าสำนัก ไหนดีจริง ? ก่อนที่คุณจะเลือกสำนักปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าจะให้ดีควรจะหา ความรู้จากพระไตรปิฎกเสียก่อน เพื่อเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ ต่อไปในวันข้างหน้า และเป็นหลักในการเลือกสำนักด้วย เพราะว่า พระไตรปิฎกนั้นได้รวบรวมคำสอนภาคทฤษฎีเอาไว้อย่างเรียบร้อย บริบูรณ์ เมื่อคุณมีความรู้ขั้นพื้นฐานจากพระไตรปิฎกแล้ว จากนั้นคุณ จึงค่อยไปเลือกสำนักปฏิบัติ คราวนี้ ในการเลือกสำนักปฏิบัตินั้น ก็มีวิธีเลือกง่ายๆ ให้ ดูเจ้าสำนัก เป็นเกณฑ์ว่าเจ้าสำนักนั้นมีความประพฤติ มีข้อปฏิบัติ ถูกต้องตามพระไตรปิฎกที่คุณเรียนมาหรือไม่ ถ้าท่านมีความประพฤติ มีการปฏิบัติเรียบร้อยบริบูรณ์ดีงาม สมกับที่คุณได้อ่านมาจากพระไตรปิฎกแล้ว ก็เลือกสำนักนั้นแหละ เป็นสำนักที่คุณควรจะมอบกายถวายชีวิต ให้ท่านอบรมเคี่ยวเข็ญกัน ต่อไป อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วโอกาสที่เราจะได้เข้าไปสนทนา ได้ เข้าไปใกล้ชิดกับเจ้าสำนักต่างๆ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน เพราะยิ่งเป็นสำนักใหญ่ เจ้าสำนักท่านก็มีงานมีภาระรับผิดชอบมาก หลวงพ่อขอแนะนำวิธีเลือกสำนักอีกวิธีหนึ่งคือ ลองศึกษา ความประพฤติการปฏิบัติจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดของท่าน จะเป็น ฆราวาสก็ตาม หรือจะเป็นพระภิกษุก็ตามที สังเกตรวมๆ 5 เรื่องต่อ พระภาวนาวิริยคุณ 108 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More