ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภาวนา - จิต
๒๗. ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร
ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ขอยก
ตัวอย่างให้ดูง่ายๆ เพื่อจะได้เป็นข้อคิดที่ดีสำหรับพวกเราที่รักการ
ปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมของเรา ของชาวโลกหรือพระภิกษุก็ตาม
เมื่อปฏิบัติไปแล้ว มีสิ่งหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในตัวเรา แต่คน
ทั่วไปมักไม่ทราบ แม้ผู้ที่มีความรู้ทางธรรมกันมามากๆ จบบาลี จบ
นักธรรมกันมาสูงๆ แต่ว่าถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ บางทีความเข้าใจก็ยัง
คลุมเครืออยู่ ก็ขอโอกาสชี้แจงเสียเลย คือธรรมะทุกอย่างที่เราปฏิบัติ
มีอานิสงส์ว่า เมื่อปฏิบัติแล้ว ก่อให้เกิดเป็นกายภายในขึ้นมาได้
คือธรรมะก่อให้เกิดเป็นกายได้
ยกตัวอย่าง นาย ก. เมื่อแรกเกิด ทันทีที่นาย ก. คลอดออก
มาจากท้องแม่ ถามว่า นาย ก. เป็นคนดีหรือคนเลว ก็ต้องบอกว่า
ตอบไม่ได้ เพราะเกิดมายังนอนแบเบาะอยู่ ยังไม่ได้ทำความดีและยัง
ไม่ได้ทำความเลว นาย ก. ยังเป็นกลางๆ อยู่ ยังไม่ดียังไม่เลว ต่อ
เมื่อไรนาย ก. ไปทำความดี จึงเป็นคนดี
คราวนี้ถ้า นาย ก. ตั้งใจรักษาศีล ๕ เมื่อตั้งใจรักษาศีล ๕
แล้ว ความร้ายกาจต่างๆ ที่อาจจะพึงมีพึงเป็น ก็ไม่เกิดขึ้นกับนาย ก.
ขณะนั้นเขาจึงเป็นคน ไม่มีอันตราย เราเข้าใกล้ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะถูก
คร่าชีวิต ไม่ต้องกลัวจะต้องถูกแย่งทรัพย์สิน ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกแย่ง
เมีย แย่งคู่รัก ไม่ต้องกลัวว่านาย ก. จะโกหกหลอกลวง ไม่ต้องกลัว
ว่าเขาจะกินเหล้าจนเผลอสติแล้วทำอะไรไม่ดีไม่งามกับเรา
นาย ก. เมื่อตั้งใจรักษาศีล ๕ แล้ว ก็เป็นคนที่น่าเข้าใกล้ มี
พระภาวนาวิริยคุณ 56 (เผด็จ ทัตตชีโว)