ความหมายของตา หู กาย ใจ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 39
หน้าที่ 39 / 137

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการอธิบายความหมายของ ตา หู กาย ใจ โดยใช้การเปรียบเทียบ เช่น ตาไม้ หูเหมือนหูกระทะ เพื่อสอนให้รู้จักการใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ และไม่ควรสนใจสิ่งที่ไม่จำเป็น การฝึกสติและสมาธิจะช่วยพัฒนาจิตใจให้สงบสุขและมีสติในการมองโลกและคนรอบข้างอย่างมีสติ การเรียนรู้เพื่อไม่ให้จิตใจฟุ้งซ่านจากสิ่งรบกวนต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-การเปรียบเทียบ
-การใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ
-การฝึกสติและสมาธิ
-การจัดการจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ๒๐. ตา หู กาย ใจ ขอรบกวนหลวงพ่อได้โปรดอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ให้ ด้วยค่ะ ? ๑. ตาเหมือนตาไม้ ๒. หูเหมือนหูกระทะ ๓. กายเหมือนผ้าเช็ดเท้า ๔. ใจประดุจแผ่นดิน ที่ว่าตาเหมือนตาไม้ ความจริงเขาใช้เต็มๆ ว่า ตาเหมือนตา ไม้ไผ่ ตาไม้ไผ่ถ้าเราไม่คิดเสีย ปล่อยให้ติดลำไว้เป็นแขนงยาวประ มาณสักคืบกว่าๆ เหลือไว้อย่างนี้ตลอดลำไม้ไผ่ ก็สามารถเอาไม้ไผ่ ลำนั้นไปทำประโยชน์ได้ ชาวบ้านเขาเอาไว้ใช้ทำพะอง รู้จักพะองไหม? พะอง คือ บันไดสำหรับขึ้นต้นตาลสูงๆ ไม้ไผ่มันจะมีกิ่งมี แขนงแตกออกจากตา เป็น ๒ ข้างสลับกัน เราตัดแขนงให้เหลือสัก ประมาณคืบ ก็ใช้สำหรับเป็นที่เหยียบขึ้นแทนบันไดได้สบายๆ ตาเหมือนตาไม้ไผ่ อุปมาข้อนี้หมายถึงว่า นัยน์ตาของเรานี่ นะ อะไรที่ไม่ควรดูก็อย่าไปดูมันเลย เหมือนอย่างตาไม้ไผ่ซึ่งสักแต่ว่า เป็นตา แต่ใช้ตาดูไม่เป็นหรอก ท่านใช้อุปมาเช่นนี้ก็เพื่อจะบอกว่า อะไรที่ไม่ควรดูก็อย่าไปดู มันไม่ควรมองก็อย่าไปมองมัน อย่าเที่ยวไป สอดรู้สอดเห็นเรื่องของชาวบ้านเขามากนัก เดี๋ยวใจจะฟุ้ง เดี๋ยวจะ มีเรื่องให้ทำเหมือนตาไม้ไผ่ โดนเหยียบขึ้นไปๆ มันก็เฉย ไม่เอาเรื่อง กับใคร หูเหมือนหูกระทะ หูกระทะนี่น่ะเอาไว้ทำอะไร เอาไว้ฟังหรือ เปล่า เปล่านะ เขาเอาไว้เป็นที่สำหรับหิ้ว เอาไว้สำหรับแขวนตัวกระทะ หลวง พ่อ 39 ต อ บ ปั ญ หา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More