ความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิและปัญญาในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 105
หน้าที่ 105 / 137

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความสำคัญของการฝึกสมาธิในกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนา โดยเน้นให้เห็นว่าศีล สมาธิ และปัญญาต้องดำเนินพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เรียนรู้จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงแม้มีตัวอย่างพระอรหันต์ที่บรรลุธรรมโดยไม่ฝึกสมาธิมาก่อน การฝึกสมาธิยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เช่นเดียวกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ที่ได้มีการฝึกฝนมาก่อน

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสมาธิ
-การพัฒนาปัญญา
-การปฏิบัติวิปัสสนา
-ศีล สมาธิ และปัญญา
-ตัวอย่างพระอรหันต์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ๕๗. มีปัญญากับสมาธิ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ คือผู้ที่ปฏิบัติแบบสุกขวิปัสสกะ เขาไม่ ได้ทำสมาธิ เพราะฉะนั้นเขาก็ย่อมไม่ผ่านดวงปฐม- มรรค ผู้ที่ไม่ผ่านดวงปฐมมรรค จะเกิดปัญญาได้ไหม กรุณาชี้แจงให้ทราบด้วยครับ ? คุณโยมเข้าใจผิดนะ ผู้ปฏิบัติแบบสุกขวิปัสสกะนั่น เขาทำสมาธิ ด้วยนะ แต่ฝึกสมาธิคนละแบบกับที่วัดพระธรรมกายสอนและปฏิบัติกัน อยากจะฝากไว้หน่อยว่า คำสอนในพระพุทธศาสนานั้น พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงวางรากฐานการศึกษาไว้แล้วว่า ประกอบ ด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ศีลเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ ฝึกสมาธิต่อไปจะเป็น พื้นฐานให้เกิดปัญญา อยู่เฉยๆ โดยไม่ฝึกสมาธิ จะให้มีปัญญาเกิดขึ้น นั้น เลิกคิดเสียที เป็นไปไม่ได้ ที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า พระภิกษุ บางรูปก่อนบวชไม่เคยฝึกสมาธิเลย บวชปุ๊บปั๊บได้เป็นพระอรหันต์ ทำให้หลายคนคิดว่าถ้าอย่างนั้นฉันไม่ต้องฝึกสมาธิก็คงจะได้ นั่นคิดผิดแล้ว ดูอย่างนี้ดีกว่า ดูว่าพระอรหันต์แต่ละองค์ความ จริงท่านฝึกสมาธิกันมาก่อนหรือเปล่า พระอัญญาโกณฑัญญะ หนึ่งใน ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ท่านฝึกสมาธิตั้งแต่ยังเป็นพราหมณ์หนุ่ม ท่านคือผู้ที่ ไปพยากรณ์พระสิทธัตถะราชกุมาร ขณะยังทรงเป็นทารกแบเบาะอยู่ ท่านเป็นผู้เดียวที่ได้พยากรณ์ ไว้ว่า “พระราชกุมารนี้ ต่อไปจะต้องตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ศาสดาเอกของโลก อย่างแน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น” ห ล ว ง พ่ อ 105 ตอบ ปัญหา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More