คุณสมบัติของสำนักปฏิบัติธรรมที่ได้มาตรฐาน หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 109
หน้าที่ 109 / 137

สรุปเนื้อหา

การเข้าร่วมเป็นลูกศิษย์ในสำนักปฏิบัติธรรมควรพิจารณาคุณสมบัติ 15 ประการ ทั้งความประพฤติของเจ้าสำนักและศิษย์ ความอดทนในการสอน และความเหมาะสมของศีลและมารยาท โดยเฉพาะการใช้เกณฑ์ที่ถูกต้องจากพระไตรปิฎกเป็นหลักในการพิจารณา รวมถึงดูความเป็นระเบียบในการจัดการอาหารและบรรยากาศของการปฏิบัติธรรมที่เหมาะสม ไม่ฟุ้งเฟ้อหรือละเลยความสะอาด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสำนักนั้นมีแนวทางการสอนที่ให้เหตุผลและลุ่มลึก

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของเจ้าสำนัก
-นิสัยของลูกศิษย์
-ศีลและมารยาท
-การบริโภคอาหาร
-สถานที่ปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ไปนี้ ถ้าเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 5 ประการนี้แล้ว ก็มอบกาย ถวายชีวิตเข้าไปเป็นลูกศิษย์ได้เลย มีคือ คุณสมบัติ 15 ประการ ซึ่งสำนักที่ได้มาตรฐานจริงๆ จะต้อง ๑. เจ้าสำนักเอง รวมทั้งลูกศิษย์ในสำนักนั้น ไม่มีนิสัยชอบ ว่าร้ายหรือโจมตีการปฏิบัติธรรมของสำนักอื่น ถ้าท่านยังมีนิสัยชอบ ว่าร้ายอยู่ แสดงว่าคุณธรรมของท่านก็ยังไม่พอ แล้วท่านจะมาสอน ให้เราได้อย่างไร ๒. ท่านจะต้องไม่มีนิสัยชอบในลักษณะที่เรียกว่า นักเลง หรือชอบข่มขู่คนอื่น อะไรทำนองนั้น ท่านควรจะมีวิธีการสอนประเภท ที่เรียกว่าให้เหตุ ให้ผล ได้ลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่ใช่บังคับให้เชื่อหรือขู่ ให้เชื่อ ๓. . สังเกตดูด้วยว่า ศีลของท่านมารยาทของท่านงามดีไหม สมกับที่จะมาเป็นพระอาจารย์สอนเราได้หรือยัง การจะดูว่ามารยาท งามหรือไม่งาม ศีลงามหรือไม่งามนั้น เราเทียบจากพระวินัยในพระ ไตรปิฎกที่เราเรียนมานั่นแหละ อย่าไปถือเอาความถูกใจเราเป็นเกณฑ์ ต้องเอาความถูกต้องเป็นเกณฑ์จึงจะใช้ได้ ๔. อาจจะเจาะลึกไปถึงเรื่องอาหารการขบฉันของท่าน คือ ต้องดูว่าวัดนี้ สำนักนี้ จุกจิกจู้จี้ในเรื่องอาหารบ้างหรือเปล่า หรือบริโภค กันฟุ่มเฟือย สุดโต่งเลย เช่น ต้องสั่งจากภัตตาคารมาประเคน ถ้า อย่างนั้นละ ถอยๆ ออกมาดีกว่า ๕. ไปดูถึงสถานที่การปฏิบัติธรรมของเขาจริงๆ ว่าออกใน ลักษณะไหน ถ้าออกในลักษณะโอ่อ่าเกินไป เดี๋ยวจะเกิดนิสัยฟุ้งเฟ้อ กลับมา แต่ว่าถ้าซอมซ่อเกินไป ปล่อยให้สกปรกรกรุงรัง อย่างนั้นก็ ห ล ว ง พ่ อ 109 ตอบ ปัญหา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More