ภาวนาและการเจริญในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 54
หน้าที่ 54 / 137

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาจิตใจและการเข้าถึงความบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างพระอริยบุคคล เช่น พระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามี พร้อมทั้งวิธีการฝึกจิตเพื่อให้บริสุทธิ์และเข้าถึงนิพพานและความเป็นอรหันต์ โดยเป็นการศึกษาอริยโคตรในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและความสำคัญในการฝึกตัวเองอย่างต่อเนื่องเพื่อยังชีวิตและจิตวิญญาณให้ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ภาวนาและการเจริญในพระพุทธศาสนา
-ความหมายของพระอริยบุคคล
-การฝึกจิตเพื่อเข้าถึงความบริสุทธิ์
-การพัฒนาตนเองในอริยโคตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ท่านเหล่านี้ถ้ายังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ ก็จะกลับ มาเวียนว่ายตายเกิด เพื่อกลั่นกายให้บริสุทธิ์ขึ้นไปอีก ซึ่งกินเวลา ไม่ เกิน ๗ ชาติ ก็เป็นพระอรหันต์หมดกิเลส ธาตุในกายใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง ๑๐๐% ทีเดียว อริยโคตรชั้นที่ ๒ เรียกว่า พระสกิทาคามี ท่านเหล่านี้กลั่น กาย กลั่นใจได้บริสุทธิ์กว่าพระโสดาบัน ถ้าไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในชาตินี้ จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ๑ ชาติ เพื่อมากลั่นต่อ แล้วก็ หมดกิเลส บริสุทธิ์ผุดผ่อง 900 % เข้านิพพานไป อริยโคตรชั้นที่ ๓ เรียกว่า พระอนาคามี ยิ่งบริสุทธิ์มาก บริสุทธิ์เต็มที่ สมาธิมั่นคงแน่วแน่ แต่ปัญญายังปานกลาง เมื่อยังไม่ เป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ ละโลกไปแล้วจะไปเกิดเป็นพรหม ไม่กลับมา เกิดในโลกมนุษย์นี้อีกแล้ว จะไปบำเพ็ญบารมีต่อหรือไปสร้างปัญญา ให้บริสุทธิ์เต็มที่ต่ออยู่ที่ชั้นพรหม หมดกิเลสอยู่ที่พรหมโลก แล้วเข้า พระนิพพานไป อริยโคตรชั้นที่ ๔ เรียกว่า พระอรหันต์ หมดกิเลสในขณะที่ เป็นมนุษย์ในชาตินี้เลย พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์ เราเรียก ว่า พระอริยบุคคล หรือ พระอริยเจ้า อริยะแปลว่าเจริญ แล้ว ที่เรียกว่าเจริญแล้ว เพราะยังไงๆ ก็ไม่ตกนรก มีแต่จะไปสวรรค์ กับนิพพานเท่านั้น เรื่องจะไปนรกนั้นเป็นไม่มี มีแต่เจริญขึ้นฝ่ายเดียว ทีนี้มีอยู่พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกถ้ำกึ่ง เรียกว่า “โคตรภูบุคคล” คือเริ่มจากปุถุโคตร เมื่อฝึกตัวเองโดยให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แล้วก็ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ มาเรื่อยๆ ศีลอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สมาธิ ก็ปานกลาง ปัญญา ก็ปานกลาง ปราบกิเลสไปได้ครึ่งหนึ่งแล้วจะเรียก พระภาวนาวิริยคุณ 54 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More