ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภาวนา - จิต
๖๖. สัญญาที่ ๔
ព
ในไตรภูมิพระร่วงเขียนไว้ว่า การเป็นอยู่ของสัตว์นั้น หมุนเวียน
อยู่ในสัญญา ๒ คือกามสัญญา อาหาเรสัญญา และ
มรณสัญญา ส่วนมนุษย์ คือสัตว์หนีไม่พ้นสัญญาทั้ง ๓
แต่มนุษย์ดีกว่าสัตว์ ก็เพราะมนุษย์มีสัญญาที่ ๔ คือ
ธรรมสัญญา กระผมขอกราบเรียนหลวงพ่อช่วยกรุณา
แปลสัญญาที่ ๔ คือธรรมสัญญา ให้กระผมทราบด้วย
เถิดครับ ?
คำว่าสัญญา แปลว่า เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่น หรือ ความ
จำได้หมายรู้ อธิบายง่ายๆ ว่าในพวกสัตว์เดรัจฉานนี้ พอโตขึ้นมากาม
สัญญาก็เกิดติดตัวมาแล้ว คือพอเป็นหนุ่มเป็นสาว มันก็จ้องจะ
สืบพันธุ์ของมัน จะมีลูกมีหลานต่อไป ความเกาะเกี่ยวยึดมั่นอย่างนี้
เรียกว่า กามสัญญา
นอกจากนั้น แต่ละวันแต่ละคืน แต่ละปีที่ผ่านไป สัตว์ก็มีอา
หาเรสัญญา คือจ้องแต่จะกิน หากินกันไปวันหนึ่งๆ
แล้วสิ่งสุดท้ายที่สัตว์มีคือ มรณสัญญา ความกลัวตาย พูด
ง่ายๆ หากินไป พอกินอิ่มแล้ว เดี๋ยวความรู้สึกทางเพศมันกำเริบ และ
ในเวลามีภัยอะไรเกิดขึ้นมันก็กลัวตาย ก็หลบหนีภัยไป
ส่วนธรรมสัญญา บางทีเขาก็เรียกว่า มนุษยธรรม สัตว์
เดรัจฉานทั้งหลายมันไม่รู้ผิดชอบชั่วดี แต่มนุษย์มีธรรมสัญญา คือรู้
ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก อะไรควรไม่ควร แล้วก็ละเว้นไม่
ทำในสิ่งที่ชั่ว เลือกทำแต่ที่ดีๆ
พระภาวนาวิริยคุณ 120 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)