การฝึกสมาธิให้เด็กเล็ก หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ภาวนา-จิต หน้า 94
หน้าที่ 94 / 137

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการฝึกสมาธิให้กับเด็กตั้งแต่อายุ ๒-๓ ขวบ ที่วัดพระธรรมกาย โดยเน้นการสร้างมาตรฐานของความดีตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เด็กๆ รู้จักการเคารพเช่น การกราบไหว้ผู้ใหญ่ รวมถึงการฝึกให้อยู่ในกรอบของความดี การให้เด็กเรียนรู้ความดีจากการกระทำและการสอนเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ยังมีการอธิบายถึงเหตุผลในการทำความดี และการสร้างนิสัยที่ดีตั้งแต่เล็ก.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-การสร้างความดีในเด็ก
-การเคารพผู้ใหญ่
-บทบาทของผู้ปกครอง
-มาตรฐานของคนดีในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาวนา - จิต ๕๐. ฝึกเด็กเล็กนั่งสมาธิ เราควรจะให้เด็กๆ มีอิสระในทางความคิดมิใช่หรือ แต่ที่วัดพระ ธรรมกาย ทำไมจึงสนับสนุนให้มีการฝึกสมาธิแก่เด็ก ตั้งแต่อายุ ๒-๓ ขวบด้วย จะไม่เป็นการกะเกณฑ์เด็กๆ มากไปหรือคะ ? มีใครบ้างที่ไม่ใฝ่ดี แม้แต่โจรก็ใฝ่ดี แต่มีข้อแม้ว่าถ้าเขาไม่รู้ ว่าอะไรคือดี อะไรเป็นมาตรฐานของคนดี โจรมันก็ตั้งมาตรฐานของ มันเอง แล้วแบกปืนไปปล้นเขาเอาเงินมาแบ่งกันกิน นั่นคือดีของโจร เราเลี้ยงลูก อยากให้ลูกเป็นคนดีเราต้องทำมาตรฐานคน ดีให้ลูกเห็นก่อน ตั้งแต่พูดจาไพเราะๆ อ่อนน้อมถ่อมตน ฝึกหัดกราบ ฝึกหัดไหว้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เมื่อเด็กต้องทำตามสั่ง แม้เด็กจะยังไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าทำไม ต้องทำ แต่ก็ได้ผลในระดับหนึ่งเป็นการฝึกเด็กให้อยู่ในกรอบแห่งความดี เมื่อฝึกเด็กไปได้ช่วงหนึ่ง เมื่อเห็นว่าเด็กโตพอจะรับฟังเหตุผลได้แล้ว เราก็ค่อยๆ บอกเหตุผลให้ฟังว่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ มี ความดีอย่างนั้นๆ เราจึงต้องกราบต้องไหว้ การให้อิสระเด็ก โดยจะไหว้จะกราบก็ให้เด็กคิดเอง ทำเอง โดยที่เราไม่สอนเขาให้ไหว้ให้กราบใคร พอเด็กโตขึ้น เราจะมาหวังให้ เด็กมากราบมาไหว้น่ะ ไม่ได้หรอก ถึงแม้เด็กจะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อ ไม่ได้ทำมาจนคุ้น ก็จะรู้สึกเขินที่จะทำ บางคนเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยกราบแม่ เลย พอให้ไปกราบก็เลยเขิน แม่ก็เป็นลูกก็เขิน ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นความดี แต่ก็กระดากก็เขิน จนไม่ได้ทำ เพราะไม่คุ้น พระภาวนาวิริยคุณ 94 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More