การมีสติและวิธีการนั่งปฏิบัติธรรม ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 28
หน้าที่ 28 / 272

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้เราจะพูดถึงความสำคัญของการมีสติและวิธีการนั่งปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องตามคำสอนของหลวงปู่ โดยเน้นให้ความสำคัญกับความสบายและสติในขณะปฏิบัติ อย่างเช่นการนั่งขัดสมาธิและตำแหน่งมือที่ถูกต้อง เพื่อให้การปฏิบัติธรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถปรับท่าทางให้สบายได้ตามความเหมาะสมแต่ยังคงรักษาสติให้ได้ตลอดทั้งการปฏิบัติ

หัวข้อประเด็น

-การมีสติ
-วิธีนั่งปฏิบัติธรรม
-ความสำคัญของการตั้งอยู่ในสติ
-ท่านั่งมาตรฐานในการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างนี้เรียกว่า มีสติ แต่วิธีการกำหนดสตินั้นต้องทำอย่างสบาย ๆ ตรงนี้สำคัญ อย่าฟังผ่านกันนะ สติกับสบายทั้งสองจะต้องไปคู่กันตลอดเส้นทาง ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งถึงที่หมายปลายทาง ถ้าไป ด้วยกันเมื่อไรจะทำให้ใจเราหยุดนิ่งได้ง่าย และหลังจาก ใจหยุดแล้วก็จะเข้าถึงดวงธรรมภายใน หลักก็มีอยู่ อย่างนี้ อย่านั่งแบบขุ่นมัวเร่าร้อนหรือนั่งแบบอึดฮัด อย่างนี้ไม่ได้ผล จะต้องทำอารมณ์ให้สบาย ๆ สำหรับท่านั่งที่กล่าวไปเบื้องต้นนั้น เป็นท่านั่งมาตรฐานของ การปฏิบัติธรรม ซึ่งหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านถอดแบบ มาจากผู้รู้ภายใน คือ พระธรรมกายภายในนั่นเอง พระธรรมกายภายในเป็นผู้รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรม ทั้งหลาย ท่านมีปกตินั่งอย่างนี้ คือ นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย โดยเฉพาะนิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือ ข้างซ้ายตรงนี้สำคัญนะ แล้วถ้าเราดึงฝ่ามือทั้งสองให้ชิดติดลำาตัวได้ กายจะตั้งตรงทีเดียว นี่คือท่านั่งมาตรฐาน เป็นท่านั่งที่สมบูรณ์ เป็นท่านั่งที่เราควรจะศึกษาเอาไว้ให้ดี ག แต่ในแง่การปฏิบัติจริง ๆ ที่บ้านเราจะนั่งท่าไหนก็ได้ให้อยู่ใน อิริยาบถที่สบาย จะนั่งพิงข้างฝา นั่งห้อยเท้า หรือนั่งพับเพียบก็ได้ ให้มีความรู้สึกว่าร่างกายสบาย แล้วก็กำาหนดสติกับสบายไปคู่กัน の ๒๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More