การฝึกตัดใจเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 172
หน้าที่ 172 / 272

สรุปเนื้อหา

การหัดตัดใจเป็นกระบวนการที่ทำให้เราเริ่มมีสมาธิและเข้าถึงความสุขที่แท้จริง โดยการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและไม่วิตกกังวลว่าเราจะถึงจุดนั้นเมื่อไหร่ การนั่งอย่างมีสมาธิจะทำให้เรารู้สึกโล่งโปร่งและสามารถควบคุมจิตใจได้ในที่สุด ขอให้มีความตั้งใจและเอาใจใส่ในการฝึกมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเข้าถึงพระธรรมกายและความสุขที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

-การหัดตัดใจ
-การมีสมาธิ
-การเข้าถึงความสุข
-การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
-ความสำคัญของการไม่วิตกกังวล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ฟุ้งน้อย ถ้าเราหัดตัดใจ ไม่อาลัยอาวรณ์ หรือหัดหักใจให้ได้ มันก็ ฟุ้งน้อย ถ้าหัดตัดใจไม่ได้มันก็ฟุ้งมาก เราก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา จะฟุ้งเป็นภาพเป็นเสียงหรือมาทั้งภาพทั้งเสียงก็ช่างมัน ช่างมัน ๒ คำนี้ แล้วก็นั่งเฉย ๆ ไปเรื่อย ๆ เมื่อเราทำอย่างนี้ไป เรื่อย ๆ ไม่ช้ามันจะฟุ้งในระดับที่เราไม่รำคาญ ทั้ง ๆ ที่ฟังเท่าเดิม แต่เราไม่รำคาญ นั่นเราเป็นต่อแล้ว และพอเรานั่งในครั้งถัด ๆ มา รู้สึกว่า เออ มันเริ่มโล่ง เริ่มโปร่ง เริ่มสบาย เริ่มรู้สึกตัวขยาย เริ่มรู้สึกตัวหาย หรือเวลามันหมดเร็วเหลือเกิน นั่นก็เป็นมิเตอร์วัด ว่า ใจเราเริ่มรวมเป็นสมาธิแล้ว แต่เขาเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” ยังเป็น สมาธิอ่อน ๆ อยู่ เราก็ฝึกไปเรื่อย ๆ ถ้าเรารักที่จะเข้าถึงพระธรรมกาย อยากเข้าถึงความสุขที่แท้ จริง เราก็จะขยันฝึก ฝึกไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวสักวันหนึ่งเราก็จะสมหวัง แต่อย่าคิดเลยเถิดวิตกกังวลว่า โอ้ กว่าจะเห็นคงตายมั้ง ก่อน ตายมั้ง หรือชาติหน้ามั้ง อย่าเลยเถิดไปขนาดนั้นนะลูกนะ มันไม่ถึง ขนาดนั้นหรอก มันจะเร็ว ๆ นี้ จุดที่จะถึงมันใช้เวลาแค่วินาทีเท่านั้น ถ้าเวลาใจหยุดนิ่ง ๆ ได้ ถ้าเราตั้งใจทําความเพียรกันอย่างจริงจัง และหมั่นปรับปรุงให้ถูก น y หลักวิชชา วินาทีเพชรวินาทีพลอยนั้นจะต้องมาถึงเราอย่างแน่นอน อาจจะคืนนี้ก็ได้ อาจจะพรุ่งนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้นให้นั่งให้สบายใจ ให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น ต้องนั่งอย่างนี้นะลูกนะ หมั่นทบทวนที่ แนะนำไป !!! | mu
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More