การมองเห็นและการฝึกจิต ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 140
หน้าที่ 140 / 272

สรุปเนื้อหา

การฝึกจิตเริ่มจากการสังเกตร่างกายเพื่อปรับให้พร้อม เมื่อรู้สึกไม่สบายใจควรเริ่มต้นใหม่ และพัฒนาตนเองให้เป็นไปตามหลักการ ไม่ให้ความมืดบดบังใจ โดยมีนิวรณ์ 5 ที่อาจมาขัดขวาง ได้แก่ กามฉันทะ, พยาบาท, วิจิกิจฉา และวิธีการปรับจิตเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายภายในเรา.

หัวข้อประเด็น

-การมองเห็นภายใน
-การฝึกจิต
-นิวรณ์ 5
-การปรับกายและใจ
-พระธรรมกายในตัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตาเนื้อก็เหมาะสำหรับมองวัตถุภายนอก ไม่เหมาะสำหรับจะกด เข้าไปดูภาพภายใน ให้สังเกตร่างกายของเรา เขาจะบอกเราเองว่ามันไม่ใช่ คือ พอคิ้วขมวด มันถึงบริเวณกระบอกตา หน้าผาก เกร็งทั้งเนื้อทั้งตัว นั่งแล้วรู้สึกเวลามันนานเหลือเกิน หรือรู้สึกเบื่อ ท้อ อย่างนี้ไม่ใช่ แล้ว อย่าฝืนทำต่อนะ ให้รีบปรับใหม่ เริ่มต้นใหม่อย่างง่าย ๆ เรายอมเสียเวลาเริ่มต้นใหม่บ่อย ๆ ตรงนี้สักนิดหนึ่ง จนกว่าเรา จะปรับกายและใจเป็น ถ้าทําเป็นแล้วทุกอย่างก็ไม่ยาก หรือยากไม่มาก มันยากพอ สู้ คือถ้าสู้แล้วมันก็ไม่ยาก ถ้าเรารู้หลักวิธีการแล้ว มันอยู่ที่ตรงนี้ เพราะว่าพระธรรมกายก็มีอยู่แล้วในตัวของเรา กายภายใน ก็มีอยู่ ดวงธรรมก็มี แสงสว่างก็มี แต่ว่าความมืดมันมาบดบังใจเรา ที่เขาเรียกว่า นิวรณ์ แล้วพอเราทำไม่ถูกวิธีไปอีกก็ยิ่งไปกันใหญ่ นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ คือ การที่ใจหมกมุ่นเรื่องกามฉันทะ เรื่องเพศ เรื่องทรัพย์ อะไรต่าง ๆ เหล่านั้น ไปผูกพันมันก็ทำให้ใจไปอยู่กับ สิ่งนั้น ไม่ได้อยู่ในตัว พยาบาท คือ ผูกโกรธ ความขุ่นมัว ขัดเคือง วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยว่า เราจะปฏิบัติได้หรือ คนอื่น เขาปฏิบัติได้จริงหรือ พระรัตนตรัยในตัวมีจริงหรือเปล่า นึกเอาเอง มั้ง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น ๆ !!! | O
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More