ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทีนี้จาก ๑ นาทีนั้น มันก็จะเป็นแรงจูงใจให้เราอยากจะนั่ง
ต่อไป ซึ่งแต่เดิมเราพยายามที่จะนั่ง ต้องฝืน ต้องพยายาม ต้อง
อดทน เพราะเรารู้ว่ามันดี อย่างน้อยก็ได้บุญ ทำให้จิตใจสงบ หรือ
เป็นอุปนิสัยของมรรคผลนิพพาน แต่ว่าพอใจหยุดได้จริง ๆ แล้ว มัน
อยากนั่งเอง มันอยากได้อารมณ์นั้นอีก แล้วก็อยากให้อารมณ์นั้น
ยาวนาน ซึ่งก็จะทำให้เราขยันหรือสมัครใจนั่ง นั่งอย่างมีความสุข
สนุกสนานแบบบุญบันเทิงทีเดียว
เพราะฉะนั้นการทำถูกหลักวิชชาและต่อเนื่องด้วยความเพียร
มีความสําคัญ ดังนั้นเราก็ต้องหมั่นทบทวนนะลูกนะ ที่เราฝึกอยู่
ทุกวันว่า มันถูกต้องไหม ถูกหลักวิชชาไหม ตั้งแต่การวางใจว่ามีความ
สมัครใจอยากเห็นไหม มีสติ มีความสบายไหม และสม่ำเสมอต่อ
เนื่องที่เรียกว่า สัมปชัญญะ หรือเปล่า ก็ให้หมั่นสังเกตดู แล้วก็ปรับ
ไปเรื่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ ฝึกไปปรับไป
ทําทุกที่ทุกเวลา
หยุด
ใจนี่มันต้องปรับกันทุกรอบที่เรานั่ง และยิ่งถ้าเราเพิ่มชั่วโมง
ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลางในอิริยาบถอื่นที่นอกเหนือจากช่วงเวลา
ที่เรานั่ง ไม่ว่าจะเป็นการยืน การเดิน การนอน การวิ่งเอ็กเซอร์ไซส์
หรือทําภารกิจอะไรก็ตาม เราเพิ่มการฝึกหยุดนิ่งไปด้วยก็จะทำให้เรา
คุ้นเคยกับศูนย์กลางกายมากขึ้น
หัดหมั่นตรึก “ตรึก” ก็คือการแตะใจไว้กลางกายอย่าง
เบา ๆ สบาย ไม่ได้แปลว่ากดใจหรือเน้น คือแค่ทำนิ่ง ๆ ที่กลางกาย
แต่ไม่ใช่ว่าเน้นหนัก แต่ว่านิ่งแน่น นิ่งเฉย ๆ ตรึกไปเรื่อย ๆ
๑๙๗ | ประสบการณ์ ๑ นาที ที่ใจหยุดนิ่ง
๑