ข้อความต้นฉบับในหน้า
ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ความท้อ ความง่วง
เพราะพักผ่อนน้อยบ้าง หรืออาการเซื่องซึมหลังอาหารเพราะเมา
อาหารอย่างนี้เป็นต้น
อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรําคาญใจ หมายถึงใจคิด
ไปในเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุ้นเคย เรื่องคนสัตว์สิ่งของ หรือถ้าเป็นวิชาการ
เขาก็เรียก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เขาเรียกว่า นิวรณ์ ๕ หรือความมืดที่มา
บดบังใจเราเหมือนดวงตะวันมีอยู่ แต่มีหมู่เมฆดำทะมึนมาบดบังเอาไว้
เราจึงมองไม่เห็นดวงตะวัน ภายในใจของเราก็มีนิวรณ์ ๕ มาบดบัง
ไม่ให้เราเห็นแสงสว่างภายใน ดวงธรรม กายภายใน กระทั่ง
พระธรรมกาย
แต่ความมืดนี้จะแพ้ใจที่หยุดนิ่ง คือถ้าเราสามารถรวมใจได้
สามารถดึงใจออกมาจากความสับสนวุ่นวาย จากความผูกพันและ
หมกมุ่นในเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ ธุรกิจการงาน ครอบครัว การศึกษา
เล่าเรียน
ประการแรก ดึงใจกลับมาอยู่ในตัวก่อน ตรงกลางท้องแถว ๆ
บริเวณนั้น ถ้าใครมั่นใจว่าไม่ฟัง ก็อยู่ตรงนั้น โดยไม่ต้องกำหนด
นิมิตเป็นภาพ ทำอย่างนั้นก็ได้ แต่ถ้าใครเป็นคนชอบฟัง เราก็
กำหนดเป็นภาพแทน เพื่อจะได้เป็นเครื่องหมายว่า ศูนย์กลางกาย
ฐานที่ ๗ อยู่แถว ๆ ท้องตรงนี้ เราจะกำหนดเป็นดวงใส ๆ หรือ
พระแก้วใส ๆ หรือภาพพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ของเราก็ได้
อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งแทนพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม
๑๔๑ | นิวรณ์ ๕