ความสำคัญของการหยุดและนิ่งในปฏิบัติธรรม ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 105
หน้าที่ 105 / 272

สรุปเนื้อหา

ความสำคัญของการหยุดและนิ่งในปฏิบัติธรรมถูกเน้นย้ำว่าเป็นการเข้าถึงประสบการณ์ภายในอย่างแท้จริง การหยุดและนิ่งนำไปสู่ความรู้ที่ลึกซึ้งและแตกต่างจากการอ่านหรือฟังที่ได้มา ต้องฝึกใจเพื่อสัมผัสประสบการณ์ที่กว้างขวางและหยุดคือจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง หลวงพ่อได้สอนให้เห็นความสำคัญนี้เพื่อให้การปฏิบัติส่งผลดีในระยะยาว แม้ว่าการหยุดนิ่งอาจไม่ส่งผลทันที แต่จะนำไปสู่ประสบการณ์ที่แท้จริงในที่สุด

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการหยุด
-การเข้าถึงปฏิเวธ
-การฝึกใจ
-ประสบการณ์ภายใน
-หลวงพ่อและการสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

และมันก็สําคัญจริง ๆ เพราะการเข้าถึงปฏิเวธ หรือการเข้าถึง ประสบการณ์ภายใน จะมัวแต่อ่านแต่ฟังอย่างเดียวมันเข้าไม่ถึง ต้องปฏิบัติด้วย ต้องหยุดกับนิ่ง เพราะฉะนั้นจึงจับหลักตรงนี้ หยุดนิ่งเรื่อยมา ได้เรียนรู้จาก คุณยายอาจารย์ฯ ท่านก็สอนแต่เรื่องหยุดกับนิ่ง พอใจยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง มันก็ยิ่งดิ่งไม่หยุด มันขยายกว้างขวางไปเรื่อย ๆ ใหญ่โตโอฬารเลย ความรู้เราก็กว้างขวาง แต่เป็นความรู้ที่แตกต่างจากที่ได้อ่านได้ฟังมา มันมีรสมีชาติมากกว่ากัน ในระดับของปฏิเวธ ที่เกิดจากการหยุด การนิ่ง จึงเห็นว่าหยุดมีความสําคัญอย่างยิ่ง ถ้าทำตรงนี้ไม่ได้ อย่างอื่นก็แทบไม่ต้องพูดถึงเลย จะอ่านตำรับ ตำราที่เล่มที่ตู้ก็ตาม ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี มันดูเหมือนจะเข้าใจ มันทราบ แต่มันไม่ซึ้งถึงขั้นที่เราจะเอามาเป็นที่พึ่งแก่เราทั้งในโลกนี้และใน สัมปรายภพ เพราะฉะนั้นหยุดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การเริ่มต้นที่ถูกต้องสําคัญมาก หลวงพ่ออยากให้ลูกทุกคนทั้งภายในและต่างประเทศ ให้ ความสําคัญเกี่ยวกับเรื่องฝึกใจหยุดกับนิ่ง แม้ว่าการหยุดนิ่งนี้จะยัง ไม่ถึงกับส่งผลให้เราได้ไปเห็นภาพ เห็นดวง เห็นกาย เห็นองค์พระ ได้แค่ความเบาสบาย ตัวขยาย นาน ๆ ก็จะเห็นดวงหรือองค์พระ รัว ๆ ราง ๆ สักทีหนึ่ง หลวงพ่อว่า การเริ่มต้นที่ถูกต้องแม้จะยังไม่ทันใจ เราในตอนนี้ แต่ต่อไปในระยะยาวจะให้ผลที่ถูกต้อง ๑๐๕ | หยุดเป็นตัวสำเร็จ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More