ทำใจให้สบายและปลอดโปร่งตามคำสอนของหลวงพ่อ ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 30
หน้าที่ 30 / 272

สรุปเนื้อหา

เรียนรู้การทำใจให้ว่างและนิ่งตามคำสอนของหลวงพ่อ โดยการรักษาอารมณ์ให้เป็นกลาง ปลอดโปร่ง ลดความเร่งรีบ เพื่อเข้าถึงความสบายที่แท้จริง ที่มีความรู้สึกมีสุขไม่มีทุกข์ มอบให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีแสวงหาอารมณ์ที่สบายในชีวิตอย่างมีสติ.

หัวข้อประเด็น

-การทำใจว่าง
-ความหมายของคำว่าสบาย
-การรักษาอารมณ์เฉย
-การแสวงหาอารมณ์สบาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่มีสรรพสัตว์สรรพสิ่ง คน สัตว์ สิ่งของไม่มี อย่างนี้ เป็นทางลัดที่จะทําให้ใจเราปลอดโปร่งสบาย คำว่า “สบาย” ของหลวงพ่อในที่นี้ สบายเบื้องต้นก็คือ รู้สึกเฉย ๆ ภาษาธรรมะเขาเรียกว่า อทุกขมสุข (อะ-ทุก-ขะ-มะ-สุก) คือ จะเรียกว่าสุขก็ไม่เชิง ทุกข์ก็ไม่ใช่ ในเบื้องต้น มันอยู่ในสภาพที่เฉย ๆ แล้วเราก็ทำใจว่าง ๆ เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า สอนว่า ให้มองโลกนี้ให้ว่างเปล่า ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีสิ่งของ ใจว่าง ๆ นิ่ง ๆ นี่คือความหมายของคำว่า สบาย ของหลวงพ่อในเบื้องต้น ๆ ཀ แล้วเราก็อาศัยจุดนี้แหละ จุดที่เรารักษาใจที่เป็นกลาง ๆ ว่าง ๆ โล่ง ๆ นิ่ง ๆ เฉย ๆ ถ้าเรารักษาอารมณ์นี้ให้สม่ำเสมอ ด้วยใจที่ เยือกเย็น ไม่เร่งร้อน เร่งรีบ ประคองอารมณ์นี้ต่อไปเรื่อย ๆ ใน ตำแหน่งที่ใจเราตั้งมั่นแล้วรู้สึกว่า สบาย ปลอดโปร่ง มีความรู้สึก พึงพอใจกับอารมณ์ชนิดนี้ ความรู้สึกชนิดนี้ ไม่ช้าเราจะเข้าถึงจุด แห่งความสบายที่แท้จริง ซึ่งจะมีความรู้สึกที่แตกต่างจากค่าว่า สบาย ในเบื้องต้นของหลวงพ่อ เพราะฉะนั้นคำว่า “สบาย” คำเดียวกัน แต่ปริมาณแห่งความ สบายนั้นมันจะไม่เท่ากัน ตั้งแต่สบายในระดับมีปริมาณน้อย จน กระทั่งมีปริมาณเพิ่มพูนขึ้น ดังนั้นตอนนี้เราแสวงหาอารมณ์สบาย กันเสียก่อน โดยการทำใจให้ว่าง ๆ นิ่ง ๆ โล่ง ๆ เฉย ๆ เหมือนอยู่กลาง อวกาศ เมื่ออารมณ์เราสบายและมีสติ เดี๋ยวเราคอยดูนะ สิ่งที่เราเคย คิดว่ามันยาก มันจะกลายเป็นของง่ายสำหรับเรา !!! O
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More