การปล่อยวางในชีวิตประจำวัน ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 230
หน้าที่ 230 / 272

สรุปเนื้อหา

บทความนี้แนะนำแนวทางการปล่อยวางให้กับผู้ที่ต้องการมีความสงบสุขในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการหยุดความคิดและไม่ผูกพันกับความคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือลบ คำแนะนำคือให้ใช้ชีวิตเสมือนท่อน้ำ ปล่อยให้ความคิดไหลผ่านไป และใช้คำภาวนาเพื่อประคองใจให้มีสมาธิ แม้จะมีความคิดตลอดเวลา การยอมรับมันและทำใจให้สงบก็จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น เคล็ดลับในการสร้างสมาธิคือการใช้ภาพแห่งอนัตตา เช่น เพชรหรือองค์พระ เพื่อสร้างความสงบและช่วยให้เราปล่อยวาง

หัวข้อประเด็น

-การปล่อยวาง
-การจัดการความคิด
-ความสงบสุข
-ชีวิตประจำวัน
-การทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่แท้จริง เพราะฉะนั้นท่านถึงสอนให้ปลดปล่อยวางในคนสัตว์ สิ่งของ แม้โลกใบนี้ก็ยังถึงกาลจะต้องเสื่อมสลายด้วยกับวินาศ แม้ร่างกายของเรานี้ก็จะต้องไปสู่จุดสลายสักวันหนึ่ง ท่านสอนให้ปลดปล่อยวาง วางแม้กระทั่งความคิดว่า เราจะ ต้องเอาให้ได้อย่างจริงจัง แล้วคาดหวังว่าวันนี้เราจะนั่งได้ดีกว่า เมื่อวาน ดีกว่าทุก ๆ วัน ความคิดชนิดนี้ แม้เป็นกุศลธรรมก็ไม่ควร คิดอีกเหมือนกัน ก็แปลว่าเราก็ไม่ต้องไปคิดเรื่องอะไร ไม่ว่าจะบวก หรือลบ ให้หยุดตรงกลาง ๆ แต่แม้เราหยุดตรงกลาง ๆ แต่ความคิดมันก็ผ่านมาในใจอยู่ ตลอดเวลา เราก็ต้องใช้สองคำว่า “ช่างมัน” เราต้องยอมรับว่าในชีวิตประจำวันทุก ๆ วันที่ผ่านมาเราเก็บ ประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นภาพ มันก็สั่งสมอยู่ในใจ ถึงคราวที่มัน จะคลี่คลายก็จะมาฉายให้เราเห็นเป็นภาพ ถ้าหากว่าเราไปผูกพัน กับมัน มันก็ฟุ้งซ่าน ถ้าไปต่อต้านไม่ให้คิด มันก็อึดอัด ทุรนทุราย เพราะฉะนั้นให้ทำตัวเหมือนท่อน้ำ คืออยู่เฉย ๆ ปล่อยให้น้ำ มันผ่านไป ท่อธารของใจก็เช่นเดียวกัน เราก็ปล่อยให้ความคิด เหล่านี้ผ่านไป โดยเราไม่ต้องไปคิดต่อ ทำเฉย ๆ นิ่ง ๆ ตรงนั้น เราได้รับคำแนะนำว่าให้นึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นเพชรสักเม็ด หรือองค์พระใส ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็นึกไป แล้วก็ประคองใจ ด้วยคำภาวนา สัมมา อะระหัง ก็ทำไป ถึงจุด ๆ หนึ่ง เราไม่อยาก จะภาวนา ก็ไม่ต้องภาวนา ไม่อยากจะนึกถึงภาพเราก็ไม่ต้องไปนึก หรือนึกแล้วมันชัดได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้นไปก่อน ๒๓๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More