ประสบการณ์เมื่อใจตกศูนย์ ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 163
หน้าที่ 163 / 272

สรุปเนื้อหา

เมื่อใจตกศูนย์ มักทำให้รู้สึกหวาดกลัวและไม่เคยมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อน สิ่งที่ควรทำคือการรักษาความสงบและนิ่งเฉยให้ได้ แม้ความรู้สึกกลัวจะเข้ามา แต่เมื่ออนุญาตให้มันเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง จะคุ้นชินขึ้น หลวงปู่ที่ค้นพบวิชชาธรรมกายแนะแนวทางในการหยุดนิ่งเพื่อค้นพบความสว่างภายในอย่างต่อเนื่อง.

หัวข้อประเด็น

-ใจตกศูนย์
-การรักษาความสงบ
-การอนุญาตให้กลัว
-วิชชาธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประสบการณ์เมื่อใจตกศูนย์ ทีนี้พอถึงจุดที่ใจจะตกศูนย์ มันกลวงข้างในแล้ว เป็นโพรง เหมือนท่อบ้าง เหมือนหลุมลึก ๆ เหวลึก ๆ หรือบางทีเป็นที่โล่งลึก ๆ มีความมืด จนกระทั่งเราหวั่นไหว เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ อย่างนี้มาก่อน มักจะกลัวกัน สะดุ้งหวาดเสียว กลัวว่ามันจะมีอะไร ลึก ๆ ในนั้น จะตายหรือเปล่า ชีวิตเราจะสิ้นสุดวันนี้หรือ หรือจะ หลุดไปเห็นสิ่งที่ไม่ดีอะไรต่าง ๆ จะเกิดความสะดุ้งหวาดเสียวก็มีบ้าง บางคน สิ่งที่ลูกควรทำก็คืออย่าสูญเสียความสงบของใจ ให้ใจหยุด นิ่งเฉย ๆ อย่างนั้นเรื่อยไป อย่าให้ใจสูญเสียความเป็นกลาง ๆ ไม่ยินดี ยินร้ายในอารมณ์ต่าง ๆ หรือประสบการณ์ใด ๆ นิ่งต่อไป แล้วมัน ก็จะผ่านไป ཀ แต่ถ้าหากมันจี้ดลงไปแล้วเราสะดุ้งหวาดเสียว เราก็อนุญาต ให้หวาดเสียวได้สักครั้ง สองครั้ง บ่อย ๆ เข้ามันก็จะค่อย ๆ คุ้นไป เพราะมันไม่มีอันตรายอะไร จะมีแต่สิ่งดี ๆ เกิดขึ้น พระเดชพระคุณ ๆ หลวงปู่ฯ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านถึงย้ำว่า หยุดนี้ให้ใช้ได้ตลอด ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ เราก็หยุดนิ่งไปเรื่อย ๆ แม้แสงสว่างแสงแรก แสงแก้วแสงแรกบังเกิดขึ้นก็อย่าลิงโลดใจ ตื่นเต้นจนเกินไป แต่ถ้าห้ามไม่ได้ก็ช่างมัน ถ้ามันหายไปก็เริ่มต้นใหม่ อย่างง่าย ๆ นี่ก็เป็นสิ่งที่ลูกทุกคนอย่าฟังผ่านนะ เพราะไปถึงตรงนั้น จริง ๆ แล้ว เรามักจะลืมสิ่งที่ได้แนะนำเอาไว้ ลืมหลักวิชชากันหมด ก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาเมื่อใจบริสุทธิ์หยุดนิ่งในระดับหนึ่ง แสงสว่างภายในมันก็เกิดขึ้น เราก็นิ่งไปเรื่อย ๆ ๑๖๓ | ยากตรงหยุดแรก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More