การประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา ง่าย...แต่..ลึก!!! หน้า 211
หน้าที่ 211 / 272

สรุปเนื้อหา

การประคองใจด้วยการบริกรรมภาวนาคือการนำใจให้สงบ โดยใช้คำว่า 'สัมมา อะระหัง' เพื่อปลดปล่อยจากความทุกข์และสร้างความบริสุทธิ์ให้กับจิตใจ ควรทำอย่างมีความผ่อนคลาย ไม่ควรกดดันหรือเครียด เกิดผลดีเมื่อทำซ้ำบ่อยๆ โดยค่อยๆ ชำนาญในการเห็นภาพองค์พระและใจสามารถเข้าไปสัมผัสกับความสงบได้ง่ายขึ้น สามารถทำให้ประสบความสุขภายในทุกครั้งที่ภาวนา

หัวข้อประเด็น

-การประคองจิตใจ
-เทคนิคการภาวนา
-การฝึกสมาธิ
-ประโยชน์ของการภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จะประคองใจให้หยุดนิ่งด้วยบริกรรมภาวนาว่า สัมมา อะระหัง ไปด้วยก็ได้ ให้เสียงดังออกมาจากกลางท้องของเรา เหมือนมา จากแหล่งแห่งความสุข ความบริสุทธิ์ แหล่งแห่งอานุภาพอันไม่มี ประมาณ มาขจัดสิ่งที่เป็นบาปอกุศลให้หมดสิ้นไป เหลือแต่ใจ ที่ใส ๆ เย็น ๆ เราจะประคองใจด้วยบริกรรมภาวนาอย่างนั้นไปด้วย ก็ได้ จนกว่าใจไม่อยากจะภาวนาต่อไป คำภาวนาจะใช้ประคองใจเท่านั้น เมื่อเราหมดความจำเป็น พอเราสามารถทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่งนิ่งอย่างเดียวได้ เราก็ไม่ ต้องประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง อีก แต่ว่าเมื่อใด ใจเราฟังไปคิดเรื่องอื่น เราจึงค่อยย้อนกลับมาภาวนา สัมมา อะระหัง ใหม่ ก็ประคับประคองใจกันไปอย่างนี้ ส่วนใครที่คุ้นเคยกับภาพองค์พระ ก็จะนึกภาพองค์พระแก้ว ใส ๆ แทนก็ได้ แต่วิธีการนึกต้องแบบเดียวกัน อย่าเน้น อย่าเค้นภาพ อย่าเพ่ง อย่าจ้อง ให้นึกเบา ๆ สบาย ๆ ต้องผ่อนคลาย เพราะว่า เส้นทางสายกลางภายในนั้น ต้องผ่อนคลาย เป็นเส้นทางแห่ง ความสุข จะไม่มีอาการตึงเครียดหรือทุกข์เลย มีแต่สุขที่เพิ่มขึ้น เมื่อเราทำบ่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ ชำนาญ ภาพก็จะปรากฏชัดใสแจ่ม กระจ่างกลางกาย เป็นดวงใส ๆ องค์พระใส ๆ เมื่อเราทำบ่อย ๆ ก็คุ้นเคย ใจก็จะแล่นเข้าไปสู่ภายในกลาง ของทุกสิ่งที่เราเห็น ถ้าเห็นดวง ใจก็จะมุ่งเข้ากลางดวง ถ้าเห็นกาย ภายใน ใจก็จะมุ่งเข้าไปสู่กายภายใน เห็นองค์พระ ใจก็จะมุ่งไปสู่ กลางองค์พระที่ใส ๆ เป็นแนวดิ่งลงไป ที่ขยายออกไปทุกทิศทุกทาง แต่ว่าอย่าไปเน้น อย่าไปกำกับ อย่าไปคิดนำ อย่ากลัวช้า ใจใส ๆ ๒๑๑ ประโยชน์ของสมาธิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More