วัตถุประสงค์ในการศึกษาและความหมายของโลกในทางพุทธศาสตร์ GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 16
หน้าที่ 16 / 184

สรุปเนื้อหา

การศึกษาจักรวาลมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์ โดยในวิทยาศาสตร์มุ่งแสวงหาความรู้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่การศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงพุทธะเน้นที่สภาพความเป็นจริงของจักรวาลจากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า 'โลก' นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งมากกว่าแค่ดาวเคราะห์ ในทางพระพุทธศาสนาแบ่งโลกออกเป็น 3 โลก ได้แก่ สัตวโลก, สังขารโลก, และโอกาสโลก ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงจิตใจและสภาพการมีอยู่ของสรรพสัตว์ได้อย่างชัดเจน ทั้งยังมีการอธิบายความหมายของโลกในแง่มุมที่หลากหลาย เช่น มนุษยโลกและดาวเคราะห์ดวงที่เราอาศัยอยู่ ข้อมูลเชิงลึกนี้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาต่อได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-วัตถุประสงค์ในการศึกษา
-การศึกษาจักรวาล
-ความหมายของโลกในพุทธศาสตร์
-สัตวโลก
-สังขารโลก
-โอกาสโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วัตถุประสงค์ในการศึกษาแตกต่างกัน คือ การศึกษาจักรวาลเชิงวิทยาศาสตร์มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ๆ โดย อาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงพุทธศาสตร์ เป็นการศึกษาสภาพความ เป็นจริงของจักรวาล จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเตือนสติให้ผู้ศึกษาเข้าใจชีวิตได้อย่างถูกต้อง 1.1.2 โลก คือ อะไร ในหัวข้อต่อไปนี้ นักศึกษาจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์สำคัญที่มักจะ พบบ่อยๆ ในทุกบทเรียนของหนังสือเล่มนี้ คือ คำว่า โลก ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจโดยความหมายแคบๆ ว่า โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงกลมๆ ที่อยู่ในระบบสุริยจักรวาลเท่านั้น แต่สำหรับความหมายของโลก ในทางพระพุทธศาสนายังมีความหมายที่กว้างกว่านั้น ดังนั้นเราควรทำความรู้จักความหมายของโลก ให้ถ่องแท้ว่า โลก คือ อะไร โลก ความหมายของ โลก ในโลกสูตรกล่าวว่า มี 3 โลก คือ สัตวโลก สังขารโลก โอกาสโลก (หรือ อากาสโลก) ในโลกทั้ง 3 นั้น หมู่สัตว์ทั้งหลายที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งการสืบต่อ แห่งรูปธรรม อรูปธรรม และทั้งรูปธรรมและอรูปธรรม ชื่อว่า สัตวโลก โลกที่แยกประเภทออกไปเป็น พื้นดิน และภูเขาเป็นต้น ชื่อว่า โอกาสโลก ขันธ์ทั้งหลายในโลกทั้งสอง ชื่อว่า สังขารโลก โลก” แปลว่า แผ่นดิน หมายถึง มนุษย์ โดยปริยายหมายถึง (1)ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก (2)ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ลักษณะอย่างลูกทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตร ยาว 12,755 กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลก ยาว 12,711 กิโลเมตร มีเนื้อที่บนผิวโลก 510,903,400 ตารางกิโลเมตร โลก พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ให้คำจำกัดความจากคำสอนของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่แบ่งเป็น 3 โลก ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ คือ 1. สัตวโลก ได้แก่ จิตใจ หรือ เห็น จำ คิด รู้ ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย 2. ขันธโลก ได้แก่ ขันธ์ 5 ตั้งแต่ขันธ์ 5 ของสรรพสัตว์ของมนุษย์ เทวดา อรูปพรหม จนถึง กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี และ กายธรรมอรหันต์ 1 3 อรรถกถาโลกสูตร, ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 หน้า 515. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546), หน้า 1043. พระธรรมเทศนาเรื่องพุทธประวัติ ของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 6 DOU บ ท ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเรื่อง จักรวาลวิทยา บทที
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More