การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในยุคต้นกัป GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 103
หน้าที่ 103 / 184

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในยุคต้นกัป ที่มีต้นกำเนิดจากพรหมและผลกระทบของการบริโภคอาหารต่อผิวพรรณและสุขภาพ ร่างกายของมนุษย์ในยุคนั้นมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เนื่องจากไม่มีมลภาวะและความยากลำบาก การบริโภคที่มีความอยากเป็นหลักทำให้เกิดผลกระทบต่อรูปร่างและความงามของผิวมนุษย์ ซึ่งหากบริโภคอย่างมีสติจะช่วยรักษาความงามได้ นอกจากนี้ยังมีเปรียบเทียบทางเคมีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมนุษย์ในยุคนั้น มีการอธิบายถึงวิวัฒนาการที่ใช้เวลานานหลายล้านปี.

หัวข้อประเด็น

-การเปลี่ยนแปลงของพรหม
-ความยากลำบากในยุคต้นกัป
-ผลกระทบของการบริโภคอาหารต่อมนุษย์
-ความงามและผิวพรรณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ชักชวนให้พรหมเหล่านั้นหันมาสนใจ เมื่อทดลองลิ้มก็ติดใจ ถูกกิเลสกามคือความอยากที่มีอยู่ในใจแต่เดิม เข้าครอบงำ อุปมาเปรียบง้วนดินได้กับ “กับดักของนายพราน” ที่คอยดักสัตว์ป่าผู้โง่เขลาให้เข้ามาติดนั่นเอง ถึงแม้ว่าอาภัสสราพรหมจะเป็นมนุษย์ในยุคต้นกัป แต่อายุของมนุษย์ยุคนั้นก็ยืนยาวจนมิอาจที่จะ นับได้ ซึ่งในภาษาบาลี ใช้คำว่า อสงไขยปี เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในสมัยนั้นมิได้มีมลภาวะเช่นปัจจุบัน ดินฟ้าอากาศ ฤดูกาลต่างๆ มิได้แปรปรวน มีแต่ฤดูสบาย ไม่ต้องมีบ้านไว้คอยกันฝน ไม่ต้องมีร่มเงา ไว้คอยบังแดด เครื่องนุ่งห่มนั้นก็เป็นเครื่องนุ่งห่มเมื่อครั้งยังเป็นพรหม ไม่ต้องมีการประกอบการงาน สิ่งใดที่เป็นความยากลำบากในยุคนั้นล้วนมิได้มีเลย โลกในยุคแรกจึงเป็นโลกที่สะดวกสบาย ปราศจากความทุกข์ยากลำบากใดๆ หากจะมีความทุกข์บ้าง ก็เป็นความทุกข์เล็กๆ น้อยๆ ที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาชดเชยแทน เช่น การเสื่อมจากง้วนดินที่เป็นอาหาร อันประณีต กลับกลายมาเป็นต้องรับประทานกะบิดินและเครือดินตามลำดับ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคนั้น ก็คือเรื่องของผิวพรรณที่มี ทั้งงามและทรามควบคู่กันไป เพราะการบริโภคของพวกมนุษย์ในยุคต้นกัปนั้นในสมัยที่ตนยังเป็นพรหมอยู่ ก็บริโภคด้วยความอยาก หาใช่เพราะความจำเป็นไม่ เพราะพรหมนั้นมีปีติเป็นภักษาอยู่แล้ว อาหารอย่างอื่น จึงไม่มีความจำเป็น เมื่อมนุษย์คนใดมีความอยากมาก ก็จะบริโภคมากมาตั้งแต่สมัยที่ตนยังเป็นมนุษย์ โอปปาติกะ ธาตุหยาบที่มีสั่งสมอยู่ในร่างกายก็จะมากตามไปด้วย เป็นเหตุให้ความประณีตของผิวพรรณ ลดลง หากมนุษย์คนใดบริโภคเพียงเพื่อต้องการแค่ให้ดำรงอัตภาพได้ธาตุหยาบที่ได้จากอาหารก็จะ เข้าไปในร่างกายน้อย ความประณีตของผิวพรรณจึงยังมีอยู่บ้าง ทำให้มีผิวพรรณงามกว่าพวกที่บริโภคมาก เราอาจจะเปรียบเทียบกับการผสมสีดำลงไปในสีขาว ซึ่งถือว่าเป็นสีที่มีความบริสุทธิ์หากผสมน้อย สีขาวก็จะกลายเป็นสีเทา แต่หากผสมมากไปสีขาวก็จะกลายเป็นสีดำไปในที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้พวกมนุษย์ เหล่านั้นจึงดูหมิ่นผิวพรรณของกันและกัน การที่กายของพรหมหมดรัศมี รวมไปถึงความกล้าแข็งของกายที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราสามารถ เปรียบเทียบปรากฏการณ์เช่นนี้ได้กับวิธีการทางเคมีของนักวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาธาตุองค์ประกอบหลายๆ ตัวไปผสมเข้ากับธาตุหลักตัวใดตัวหนึ่ง จนทำให้ธาตุนั้นเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง ไปเป็นธาตุตามที่เรา ต้องการ นี้เป็นหลักพื้นฐานง่ายๆ ในวิชาเคมี และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างช้าๆ ได้กับการนำน้ำเปล่าเข้าไปแช่ในช่องแช่แข็ง (freeze) น้ำที่เป็นของเหลวในตอนแรกพอเย็นมากเข้าๆ ก็จะค่อยๆ กลายเป็นวุ้น และพอถึงความเย็นระดับ หนึ่ง ก็จะกลายเป็นก้อนแข็งไปในที่สุด น้ำนั้นมิได้แข็งขึ้นในทันทีทันใด ร่างกายของพวกพรหมก่อนที่จะ กลายเป็นมนุษย์ในยุคต้นกัป ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น ซึ่งจะต้องอาศัยระยะเวลาเป็นล้านๆ ปี ร่างกายของมนุษย์ในยุคต้นกัปนั้น มีขนาดที่ใหญ่โตและแข็งแรงมาก ถ้าจะยกตัวอย่างจากใน บทที่ 4 การกำเนิด จั ก ร ว า ล โ ล ก และ มนุษย์ DOU 93
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More