ความเชื่อเรื่องโลกนี้และโลกหน้า GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 19
หน้าที่ 19 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความเชื่อเรื่องโลกนี้และโลกหน้าตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยชี้ให้เห็นว่าความเชื่อที่โลกนี้และโลกหน้าไม่มีนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ นอกจากนี้ยังเสนอวิธีการพิจารณาจากตรรกศาสตร์เพื่อยืนยันการมีอยู่ของโลกหน้า โดยนำเสนอคำสอนเกี่ยวกับกรรมและการเกิดใหม่ที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อว่าความดีความชั่วที่ทำมีผลต่อการเกิดในชาติถัดไป

หัวข้อประเด็น

-ความเชื่อเรื่องโลกนี้
-โลกหน้ามีจริง
-มิจฉาทิฏฐิ
-การศึกษาเรื่องจักรวาลวิทยา
-ตรรกศาสตร์ในการพิจารณา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระองค์ทรงทราบว่า ความเชื่อเรื่องโลกนี้ โลกหน้าไม่มีนั้น เป็นความเห็นผิดจากกฎธรรมชาติที่ พระองค์ทรงค้นพบ ความเห็นผิดนี้ เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ดังนั้น นักศึกษาจึงควรทำการศึกษาเรื่องโลกนี้ โลกหน้า ให้เข้าใจเสียก่อนว่ามีจริงหรือไม่ ถ้าหาก ไม่เชื่อแล้วจะเกิดผลดี ผลเสียอย่างไร และถ้าเราไม่เชื่อว่า โลกนี้ โลกหน้ามีจริงแล้ว วิชาจักรวาลวิทยา จำเป็นต้องศึกษาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องด้วยโลกนี้ และส่งผลไปยังโลกหน้า 1.2.1 การพิจารณาเหตุผลเรื่องโลกนี้ โลกหน้ามีจริงหรือไม่ ความเชื่อเรื่องโลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี เป็นความเชื่อดั้งเดิม ที่มีมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว และ ยังคงจะมีต่อไป ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงสอน ให้เชื่อเรื่องโลกนี้ โลกหน้า ว่ามีอยู่จริง พูดง่ายๆ คือ ตายแล้วไม่สูญ เป็นการยืนยันว่า ความดี ความชั่ว ที่ทำเอาไว้ไม่ได้จบสิ้นแค่เพียงชาตินี้ แต่ยังตามให้ผลไปข้ามชาติอีก โลกหน้ามีจริง เป็นการยืนยันว่า ตายแล้วต้องเกิด ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส ส่วนจะเกิดมาเป็น อะไรนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เรามีวิธีพิจารณาว่าโลกนี้ โลกหน้ามีจริงหรือไม่ ดังนี้ กรณีที่ 1 เชื่อว่า โลกนี้ โลกหน้ามีจริง พิจารณาในลักษณะที่เป็นตรรกศาสตร์ 1 ถ้าหากว่าคนเราตายแล้วสูญ นั่นย่อมหมายความว่า การที่เราเกิดมาชาตินี้ก็น่าจะเป็นชาติแรก เพราะชาติที่แล้วไม่มี หากเราเกิดมาชาติแรกจริง คนที่เป็นคู่แฝดกัน ก็น่าจะต้องเหมือนกันทุกประการทั้ง รูปร่าง หน้าตา อุปนิสัยใจคอ เพราะมาจากเบ้าหลอมเดียวกัน แต่ปรากฏว่าคลอดออกมาแล้วกลับไม่เหมือนกัน ถามว่าเพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่เป็นพี่เป็นน้องกัน เกิดมาจากพ่อแม่เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นถ้าเชื่อว่า ชาติที่แล้วไม่มี ก็จะตอบคำถามนี้ได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ถ้าเชื่อว่าชาติที่แล้วมี ถ้าอย่างนั้นก็สามารถตอบได้ว่า เป็นเพราะบุญและบาป ที่ตนกระทำไว้ ในอดีตต่างกัน ดังพุทธพจน์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับสุภมาณพ โตเทยยบุตร ถึงเหตุแห่งความเลว หรือประณีตที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลใน จูฬกัมมวิภังคสูตร ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้” ตรรกศาสตร์ คือ ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผลว่าจะสมเหตุสมผลหรือไม่ จูฬกัมมวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 581 หน้า 251 บ ท ที่ 1 บ ความรู้เบื้องต้นเรื่ อ ง จั ก ร ว า ล วิ ท ย า เรื่อ DOU 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More