ข้อความต้นฉบับในหน้า
การทะเลาะวิวาท ด่าว่า และทำร้ายร่างกายกันด้วยมือ ก้อนดิน และท่อนไม้ นับแต่นั้นมามนุษย์ก็เริ่มใช้
ความรุนแรงต่อกันเรื่อยมา ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
5.3 ความเสื่อมเริ่มจากผู้ปกครอง
หลังจากเกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นในหมู่มนุษย์ มนุษย์จึงปรึกษากันให้มีการเลือกตั้งผู้ปกครองขึ้น
เป็นกษัตริย์ เพื่อทำหน้าที่ว่ากล่าว ติเตียนและลงโทษผู้กระทำผิด นับแต่นั้นเหล่ามนุษย์ก็ได้มีกษัตริย์
เป็นผู้ปกครองสืบมา กษัตริย์บางพระองค์เป็นผู้มีบุญมากมีอานุภาพมาก ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระองค์
ทรงเป็นพระราชาโดยธรรม มีอำนาจเหนือทวีปทั้ง 4 สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว
ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว ทรงปราบปรามข้าศึกให้อยู่ในพระราชอำนาจโดยธรรม
ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง พระนามว่า ทัฬหเนมิ เมื่อทรงครองราชสมบัติจนเห็นว่า
จักรแก้วถอยเคลื่อนออกจากที่ จึงสละราชสมบัติให้พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อผนวชได้
7 วัน จักรแก้วอันตรธานหายไป จึงตรัสให้คำแนะนำแก่พระราชโอรสองค์ใหญ่ให้ประพฤติจักกวัตติวัตร
(ข้อพึงปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ) เพื่อที่จะให้จักรแก้วมาปรากฏว่า
1. ให้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม คุ้มครองป้องกันชนทุกหมู่เหล่า และสัตว์ทั้งหลาย อย่าให้สิ่งที่
ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในแว่นแคว้น
2. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
3. เข้าไปสอบถามสมณพราหมณ์ ที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ถึงสิ่งที่เป็นกุศล อกุศล กรรมที่มี
โทษและไม่มีโทษ กรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ กรรมที่ทำอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข และกรรมที่
ทำอันเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์ แล้วประพฤติแต่กรรมที่เป็นกุศล เว้นกรรมที่เป็นอกุศล
พระราชโอรสฟังคำของพระบิดาแล้ว ปฏิบัติตามคำของพระบิดา ดังนั้นจักรแก้วจึงปรากฏขึ้น
พระองค์ทรงประทับเหนือจักรแก้ว เสด็จไปยังทิศต่างๆ พระราชาในทิศนั้นๆ ต่างก็เชื้อเชิญพระองค์และ
ยอมอยู่ใต้พระราชอำนาจ พระองค์ได้ตรัสให้โอวาทว่า
“พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงดื่มน้ำเมา”
- จักกวัตติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. ที่ 15 ข้อ 33-50 หน้า 99-123.
บทที่ 5 ค ว า ม เ สื้ อ ม ข อ ง จั ก ร ว า ล
เสื่อ
DOU 107