ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สักวันหนึ่งเราก็จะไปถึง ณ จุดแห่งความสว่างที่ทำให้เรา
ไปศึกษาเรื่องความเป็นไปของโลกและสรรพสิ่งได้
1.3.4 เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นอจินไตย
ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล แล้วเหตุใดจึงมีธรรมะบางหัวข้อ
ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงห้ามไม่ให้คิด เพราะถ้าคิดแล้วจะเกิดความฟุ้งซ่านแห่งจิต
มีส่วนแห่งความเป็นบ้า ซึ่งพระองค์ทรงใช้คำว่าเป็นเรื่องอจินไตย ฟังแล้วเหมือนจะขัดแย้งกันอยู่ในตัว
ระหว่างความมีเหตุผลในพระพุทธศาสนากับการไม่ให้คิดเรื่องเหตุผลในบางเรื่อง ความจริงแล้วเรื่อง
ดังกล่าวไม่ขัดแย้งกัน แต่เนื่องจากบางเรื่องเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง จะใช้การพิจารณาด้วยปัญญาขั้นธรรมดา
ไม่ได้ เพราะความคิดของมนุษย์นั้นมีขอบเขตจำกัด ต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมที่เพียงพอจึงจะรู้เห็นเรื่องนี้ได้
ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องแหล่งที่มาของความรู้เรื่องจักรวาลวิทยา
เรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอจินไตย มีปรากฏใน อจินติตสูตร ดังนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย 4 อย่างนี้ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่ง
ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า อจินไตย 4 คืออะไรบ้าง คือ
1. พุทธวิสัยแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด
ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
2. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่ง
ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
3. วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความ
เป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
4. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด
ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล อจินไตย 4 ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่ง
ความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า”
จากพระสูตรนี้ นักศึกษาจะเห็นว่า เรื่องใครเป็นผู้สร้างโลก การเกิดขึ้น แตกทำลายของโลกนั้น
เป็นเรื่องอจินไตย ไม่ควรคิด คิดแล้วก็จะมีส่วนแห่งความเป็นบ้า เพราะโลกที่เราอยู่อาศัยนั้น ใช้ระยะเวลา
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกทำลายนั้น นานมากเป็นอสงไขยกัป อสงไขยชาติ ยากที่จะใช้เครื่องมือใดๆ ไป
ตรวจสอบให้เห็นตามความเป็นจริงได้ ดังนั้นหากยิ่งใช้ความคิดในการพินิจพิเคราะห์ด้วยแล้ว ยิ่งเกิดความ
ฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นการเสียเวลาและโอกาส ในที่สุดอาจจะเป็นบ้าไปได้
อจินติตสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 77 หน้า 235
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เรื่อง จักรวาลวิทยา DOU 17