ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 2
องค์ประกอบของจักรวาล
ความนํา
ในบทเรียนที่ผ่านมา เราได้ศึกษาถึงความหมายของจักรวาลวิทยา ทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้ค้นพบเรื่องราวความเป็นจริงของโลกและชีวิต ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งทำให้เราเข้าใจ
ปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น เนื่องจากการอธิบายสิ่งต่างๆ ในพระพุทธศาสนาเป็นการอธิบายด้วยเหตุและ
ผล ไม่ใช่การใช้ศรัทธานำหน้า ไม่มีการบังคับให้เชื่อตาม แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง และพระพุทธ
ศาสนาได้แสดงวิธีพิสูจน์ไว้ให้แล้ว มาถึงบทเรียนนี้จะอธิบายในรายละเอียดต่อไป หลังจากที่เราทราบถึง
ความเป็นมาของโลกไปแล้ว ต่อจากนี้เราจะมารู้จักและเข้าใจสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของสรรพสิ่งทั้งหลาย
ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า ธาตุ
2.1 ธาตุ
ธาตุที่เราจะศึกษาในบทเรียนนี้ ไม่ได้หมายถึงธาตุที่ปรากฏในตารางธาตุ ในวิชาวิทยาศาสตร์
หรือวิชาเคมี เช่น ฮีเลียม อาร์กอน ไนโตรเจน ดังที่เราเคยเรียนเคยรู้จักกันมา แต่ธาตุในที่นี้หมายถึง สิ่งที่
เป็นองค์ประกอบแท้จริงหรือองค์ประกอบดั้งเดิมของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือสิ่งใดๆ
ก็ตาม ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตล้วนมีองค์ประกอบนี้อยู่ อันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานชั้นต้นที่
ละเอียดที่สุดที่ไม่สามารถจะแยกย่อยให้ละเอียดไปกว่านี้ได้อีก ซึ่งมีท่านผู้รู้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ
ความหมายของธาตุไว้ในที่ต่างๆ ดังนี้
2.1.1 คำแปลและความหมาย
ธาตุ หมายถึง 1) ผู้ทรงไว้ ผู้ตั้งไว้ ผู้ดำรงอยู่ 1
2) สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา จะแยกต่อไปอีกไม่ได้ สิ่งที่เป็นต้นเดิม เป็นมูลเดิม 2
3) วัตถุซึ่งเป็นส่วนผสมดั้งเดิมของสิ่งต่างๆ
3
1
ป. หลงสมบุญ, พจนานุกรมมคธ-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร, 2546) หน้า 366.
2
ป. หลงสมบุญ, พจนานุกรมมคธ-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร, 2546) หน้า 366.
3 ปิ่น มุทุกันต์, คำบรรยายพุทธศาสตร์ ภาคที่ 3, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : กมลการพิมพ์, 2508) หน้า 101.
บ ท ที่ 2 อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง จั ก ร ว า ล
ท
DOU 25