ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 5
ความเสื่อมของจักรวาล
ความนำ
ในบทที่แล้วได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นของจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลาย รวมทั้งโลกและสิ่งต่างๆ
ทั้งหลายที่อยู่บนโลก โดยสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นได้จากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม
ดังที่กล่าวไว้แล้วในบทเรียนที่ 2 ซึ่งในการเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน และในการเกิดขึ้นของแต่ละสิ่งนั้นกินเวลายาวนานมาก จนเราไม่สามารถที่จะใช้
หน่วยนับใดๆ ที่ใช้กันในปัจจุบันมาคำนวณระยะเวลาได้ จนกระทั่งเป็นรูปร่างดังที่ปรากฏในโครงสร้างของ
จักรวาลในบทที่ 3 และต่อมาหลังจากที่จักรวาล และโลกบังเกิดขึ้นแล้ว มนุษย์จึงถือกำเนิดขึ้น มนุษย์ที่
เกิดขึ้นในครั้งแรกเกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที (คือพอมาเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่โตเต็มวัยเลย ไม่
ได้หมายถึง เป็นเด็กทารกก่อนแล้วจึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างรวดเร็ว) ไม่ต้องอาศัยพ่อแม่เกิด อยู่ได้โดยมี
ปีติเป็นภักษาหาร ไม่ต้องบริโภคอาหารหยาบ ต่อจากนั้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย เริ่มตั้งแต่
มนุษย์เริ่มกินอาหารหยาบ แสงในตัวหายไป เพศหญิงเพศชายปรากฏ เกิดการก่อสร้างบ้านเรือน แบ่งปัน
เขตแดน จนกระทั่งมีกษัตริย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ฯลฯ
ในบทนี้ จะกล่าวถึงความเสื่อมของจักรวาล ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลายตามลำดับ ความเสื่อมที่
เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส 3 ตระกูล
คือ โลภ โกรธ และหลง จนไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ ปล่อยให้อำนาจกิเลสชักนำให้คิด พูด ทำ ในสิ่งที่เป็น
เหตุให้โลกเสื่อมลงตามลำดับ
5.1 โลกเสื่อมตั้งแต่เริ่มต้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันก่อนที่จะกล่าวถึงความเสื่อมของจักรวาลต่อไปจึงขออธิบายในที่นี้ว่า
ความเสื่อมของจักรวาลในที่นี้หมายถึง การที่สรรพสิ่งทั้งหลายทุกชนิด ทั้งในโลกและนอกโลก มีสภาพ
แปรเปลี่ยนวิปริตไปจากสภาพเดิมที่เคยเป็นอยู่ มิได้หมายเพียงเฉพาะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องจักรวาล
เท่านั้น และไม่ได้มุ่งเน้นไปถึงช่วงที่จักรวาลจวนเจียนจะถูกทำลายใกล้ดับสลายเต็มที่ แต่จะหมายรวมตั้งแต่
เริ่มมีความเสื่อมปรากฏขึ้นต่อสรรพสิ่งในโลก
จากจุดเริ่มต้นหลังจากที่จักรวาลและภพภูมิต่างๆ เกิดขึ้นเป็นรูปร่างดังที่ปรากฏในโครงสร้างของ
จักรวาลแล้ว สิ่งต่างๆ เริ่มที่จะคงที่ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงที่ยังคงดำเนินอยู่ก็มีเพียง
ความเสื่อ
104 DOU บ ท ที่ 5 ค ว า ม เ สื่ อ ม ข อ ง จั ก ร ว า ล