อสุรกายภูมิและติรัจฉานภูมิ GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 75
หน้าที่ 75 / 184

สรุปเนื้อหา

อสุรกายภูมิ คือ สถานที่ที่สัตว์มีชีวิตอยู่ในความทุกข์ เนื่องจาก การขโมยและโลภหลอกลวง ในขณะที่ติรัจฉานภูมิ เป็นโลกของสัตว์ที่เดินไปอย่างขวาง โดยไม่สามารถบรรลุธรรมได้ง่ายแม้ทำความดี ทั้งสองภูมิประสบปัญหาแตกต่างกัน แต่มีความทุกข์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากและมีความละอายรักในการปรากฏตัว โดยอสุรกายอาจไม่เคยสัมผัสน้ำเลยนานหลายพุทธันดร มักถูกเรียกว่า อสุรกาย เนื่องจากกลัวและไม่กล้าแสดงตัว ส่วนติรัจฉานยังพอมีความสุขบ้างแต่ต้องเผชิญหน้ากับการมีชีวิตที่ยากลำบากจึงไม่ได้สูญสิ้นความดีไปที่มาก

หัวข้อประเด็น

-อสุรกายภูมิ
-ติรัจฉานภูมิ
-ประเภทย่อยของอสุรกาย
-ลักษณะและลำบากในการดำรงชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. อสุรกายภูมิ อสุรกายภูมิ คือ ภูมิที่อยู่ของสัตว์ซึ่งปราศจากความร่าเริง สนุกสนาน ต้องเสวยทุกขเวทนาเพราะ ความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา อสุรกายบางตัวมีร่างกายผ่ายผอม สูงชะลูด ไม่มีเนื้อเลือดในร่างกาย มีแต่ หนังหุ้มกระดูก ตัวเหม็นสาบ มีดวงตาที่เล็กมากและตั้งอยู่บนศีรษะ ตรงกระหม่อม ปากเล็กเท่ารูเข็ม และตั้งอยู่ใกล้ดวงตา เหตุนี้จึงลำบากในการหาอาหาร เวลาจะกินก็ลำบาก ต้องเอาศีรษะปักลงมา แล้ว เอาเท้าชี้ฟ้า เหตุที่ได้รับกรรมเช่นนี้เพราะทำกรรมโดยมีโลภเจตนาแรงกล้า เที่ยวปล้นลักขโมย ฉ้อโกง ทรัพย์สมบัติผู้อื่น ทำลายสมบัติของผู้อื่นและของสาธารณะ ลักขโมยของสงฆ์ เป็นต้น อสุรกายมี 3 ประเภท ได้แก่ 1. เทวอสูร มีความเป็นอยู่คล้ายเทวดา อาศัยอยู่ใต้ภูเขาสุเนรุ บริเวณสามเส้าที่รองรับ เขาพระสุเมรุ เรียกว่าเขาตรีกูฏ เป็นอุโมงค์ใหญ่ มีที่อยู่สุขสบาย 2. เปตติอสูร มีความเป็นอยู่คล้ายเปรต ต้องเสวยทุกขเวทนาเป็นส่วนมาก 3. นิรยอสูร อยู่ในโลกันตนรก ต้องทนทุกข์ทรมานมากที่สุด ตามที่กล่าวมาจะเห็นว่าอสุรกายมีภาวะที่คล้ายเปรตอยู่มาก แต่ก็ยังมีความแตกต่างกัน คือ การประสบทุกขเวทนาของเปรตนั้น เป็นความอดอยากอาหาร ต้องทนทุกข์เพราะความหิวโหย ส่วนของ อสุรกายนั้นต้องเสวยทุกข์เพราะความกระหายน้ำ บางตัวไม่เคยถูกแม้น้ำสักหยดนานถึง 2-3 พุทธันดร อนึ่ง อสุรกายนี้มีร่างกายที่แปลกประหลาดกว่าเปรตอยู่มาก เห็นแล้วน่าเกลียดน่ากลัวยิ่งนัก แม้ชีวิตความเป็นอยู่ก็ลำบากกว่าเปรตมากมาย เขาจึงมีความละอาย ไม่กล้าปรากฏกายให้ใครเห็น ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า อสุรกาย (อสุร แปลว่า ไม่กล้า) 4. ติรัจฉานภูมิ ติรัจฉานภูมิ คือ โลกของสัตว์ผู้ไปโดยขวาง คือเวลาจะไปไหน มาไหน ต้องไปโดยอาการขวาง ลำตัว ต้องคว่ำอกไป เช่น สุนัข แมว หนู ไก่ เป็ด งู ปลา เป็นต้น นอกจากร่างกายต้องไปอย่างขวางๆ แล้ว จิตใจยังขวางอีกด้วย คือขวางจากมรรคผลนิพพาน แม้จะทำความดีเท่าไรก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผล นิพพานในชาตินั้นได้ อย่างมากที่สุดก็เพียงไปสวรรค์เท่านั้น ติรัจฉานภูมิ หรือโลกของสัตว์เดรัจฉานนี้ ไม่ต้องเสวยทุกขเวทนาแรงกล้าอย่างสัตว์นรก เปรต อสุรกาย ยังพอจะมีความน่าชื่นชมยินดีอยู่บ้าง เพราะมีอกุศลเบาบาง แม้จะต้องประสบความลำบากอย่างไร ถวิล วัติรางกูล, เราคือใคร, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2530), หน้า 41. บ ท ที่ 3 โ ค ร ง ส ร้ า ง ข อ ง จั ก ร ว า ล DOU 65
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More