ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพราะเหตุนี้ ในทวีปทั้ง 4 จึงมีสีของต้นไม้ ใบไม้ น้ำในทะเล มหาสมุทร ท้องฟ้า ตามสีของรัตนะ
ที่ไหล่เขาพระสุเมรุสะท้อนแสง แต่ละทวีปมีทวีปน้อย 500 เป็นบริวาร คนที่อาศัยอยู่ในทวีปน้อย มีความ
เป็นไปต่างๆ ตามผู้คนที่อยู่ในทวีปใหญ่ รูปใบหน้าของมนุษย์มีลักษณะตามสัณฐานของทวีป
มนุษย์ในทวีปทั้ง 4 เมื่อกล่าวโดยรวม มีรูปร่าง สัณฐาน หน้าตา อยู่ในลักษณะเดียวกัน ต่างกัน
ตรงขนาด ความได้ส่วนสัด และความประณีตสวยงาม เช่น มนุษย์ในชมพูทวีปมีใบหน้ารูปไข่ มนุษย์ใน
อปรโคยานทวีปมีใบหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญ มนุษย์ในปุพพวิเทหทวีปมีใบหน้าเหมือนมะนาวตัด
หรือพระจันทร์ครึ่งซีก ส่วนมนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปมีใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม (รูปหน้าของมนุษย์ทวีปใดมี
ลักษณะเหมือนสัณฐานของทวีปนั้น) มนุษย์ในชมพูทวีป มีความสวยงามและความขี้เหร่แตกต่างกันมากมาย
ตามแต่กุศลและอกุศลที่เจ้าตัวกระทำไว้มาให้ผล ส่วนมนุษย์ในทวีปอื่นอีก 3 ทวีป ความสวยงามของผู้คน
ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมีคุณธรรมในจิตใจเสมอเหมือนกันโดยทั่วไป
คุณสมบัติ 3 ประการ ที่คนในชมพูทวีปประเสริฐกว่าคนในทวีปอื่นและเทวดาชั้นดาวดึงส์ คือ
1. สูรภาวะ มีจิตใจกล้าแข็งในการกระทำความดี เช่น บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
2. สติมันตะ มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย
3. พรหมจริยวาส สามารถประพฤติพรหมจรรย์ คือบวชได้
ลักษณะพิเศษ 4 ประการ ที่คนในชมพูทวีปประเสริฐกว่าคนในทวีปอื่น คือ
1. มีจิตใจกล้าแข็ง ทั้งในด้านประกอบกรรมดีและกรรมชั่ว ทางฝ่ายดีนั้นสามารถปฏิบัติตน
ให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นต้น
ฝ่ายชั่วก็สามารถกระทำได้ถึงขั้นฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำโลหิตตุปบาท ทำสังฆเภท เป็นต้น
คนในอีก 3 ทวีป ไม่สามารถกระทำกล้าแข็งได้ถึงเพียงนี้
2. มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุ ทั้งที่สมควรและไม่สมควรรู้จักพิจารณาหาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ
โดยเฉพาะเป็นอย่างๆ ได้ทั้งฝ่ายที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม
3. มีความเข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้จักทั้งโลกียประโยชน์ และโลกุตตร
ประโยชน์ โลกิยประโยชน์ ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มนุษยสมบัติ เทวสมบัติ เป็นต้น ส่วนความเข้าใจ
จะลึกซึ้งมากน้อยระดับใด ขึ้นอยู่กับศรัทธา วิริยะ ปัญญา บารมี และการคบหาสมาคม
4. มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล ทั้งโลกิยกุศลและโลกุตตรกุศล ฝ่ายกุศล ได้แก่ ทาน
ศีล ภาวนา เป็นต้น ฝ่ายอกุศล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
บ ท ที่ 3 โ ค ร ง ส ร้ า ง ข อ ง จั ก ร ว า ล
DOU 55