การศึกษาจักรวาลวิทยาในแง่มุมของพระพุทธศาสนา GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 179
หน้าที่ 179 / 184

สรุปเนื้อหา

การศึกษาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาในมุมมองของพระพุทธศาสนา กล่าวถึงการรวมตัวของธาตุทั้ง 6 ที่เกิดเป็นสรรพสิ่ง รวมถึงการรู้จักตนเองและการปราบกิเลส โดยมีวิชชา 3 เป็นแนวทางการศึกษาเพื่อพิสูจน์และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก โลกและจักรวาลมีความไม่เที่ยงและมีความสำคัญในการทำความดีตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อไปสู่พระนิพพานและหลุดพ้นจากทุกข์ในชีวิตนี้.

หัวข้อประเด็น

-จักรวาลและโลก
-การศึกษาเรื่องจักรวาลวิทยา
-ธาตุและการเกิดของสรรพสิ่ง
-การฝึกจิตและวิชชา 3
-ผลของการกระทำในมนุษย์
-การวิวัฒนาการของจักรวาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นอกจากนี้ยังนำเสนอแหล่งที่มาของความรู้ในวิชาจักรวาลวิทยาที่พระองค์ทรงค้นพบจากการฝึกจิต จนเกิดวิชชา 3 คือ ระลึกชาติได้ รู้การเวียนว่ายตายเกิดของสัตวโลก และสามารถปราบกิเลสให้หมดสิ้น ไปได้ ซึ่งวิชชาทั้ง 3 นี้ เป็นวิธีที่จะไปศึกษาและพิสูจน์เรื่องจักรวาลวิทยา และปราบกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก บทที่ 2 เราศึกษาว่า จักรวาล โลก สรรพสัตว์ สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดจากการรวมตัวของธาตุทั้งสิ้น โดยที่มนุษย์และสัตว์มีธาตุเป็นองค์ประกอบ 6 ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ส่วนสรรพสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมรวมกันของธาตุ 4 ซึ่งธาตุทั้งหลายเหล่านี้ตกอยู่ ในกฎไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง จะต้องมีวันเสื่อมสลายไปในที่สุด แม้แต่ จักรวาล โลก มนุษย์และสรรพสัตว์ สรรพสิ่งทั้งหลาย ก็ย่อมเสื่อมสลายไปในที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เพราะการยึดมั่นถือมั่นย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ เราควรมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนประกอบขึ้นมาจากธาตุ แม้ตัวเราก็ประกอบจากธาตุ ควรเบื่อหน่ายในสังขารร่างกายนี้ เร่งทำความดีให้พ้นจากทุกข์ไปสู่ฝั่งแห่งนิพพานให้ได้ บทที่ 3 เราศึกษาโครงสร้างของจักรวาล อันประกอบขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ ซึ่งจักรวาล ที่เราอยู่อาศัยมิใช่มีเพียงจักรวาลเดียวเท่านั้น แต่ยังมีจักรวาลนับไม่ถ้วน ที่เรียกว่า อนันตจักรวาล และใน จักรวาลที่มากมายนั้น จะมีองค์ประกอบที่เหมือนกันทุกประการ จักรวาลเป็นที่อยู่อาศัยของสัตวโลกทั้ง หยาบและละเอียดจำนวนมาก ที่เรามองเห็นและมองไม่เห็น มีอยู่ถึง 31 ภูมิด้วยกัน แต่ละภพภูมิมีความ เป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ตามลักษณะบุญและบาปที่เกิดจากการกระทำของตนในครั้งเป็นมนุษย์ และมนุสสภูมิ เป็นศูนย์กลางของการทำความดีและความชั่ว โดยมีภพภูมิอื่น เป็นผลรองรับการทำบุญและบาปของมนุษย์ เมื่อศึกษาเรื่องนี้ ทำให้เราทราบว่า เรามิได้อยู่คนเดียวในโลกใบนี้ เรายังมีเพื่อนต่างภพภูมิทั้ง หยาบและละเอียดภายในจักรวาลเดียวกันอีกมาก และที่ต่างจักรวาลอีกนับประมาณไม่ถ้วน เมื่อเห็นดังนี้ แล้วควรจะเบื่อหน่ายในการดำรงอยู่ในโลกใบนี้ และเร่งปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน บทที่ 4 เราศึกษาเรื่องการกำเนิดจักรวาล สรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ว่ามีวิวัฒนาการ อย่างไร ความรู้เหล่านี้ได้มาจากคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสเล่าว่า หลังจากที่มี การเสื่อมสลายของจักรวาลเป็นเวลายาวนานหลายล้านๆ ปี จักรวาลได้เกิดการรวมตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยการประชุมของธาตุดังที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 2 จนเป็นรูปร่างของจักรวาล ตามโครงสร้างของ จักรวาลในบทที่ 3 เมื่อเป็นรูปร่างแล้ว ก็กำเนิดมนุษย์ยุคแรกที่เกิดจากพรหมที่หมดบุญลงมากินง้วนดิน จนกระทั่งกายหยาบ ผิวพรรณที่เคยผ่องใส กลับหมองลง เกิดความแตกต่างจากพวกเดียวกัน อกุศลกรรม คือการดูถูกกันก็เกิดขึ้น อกุศลกรรมอื่นๆ เริ่มตามมา กิเลสที่อยู่ในจิตของมนุษย์ก็กำเริบ ทำให้ธาตุ ภายนอกวิปริต อาหารหยาบลง จากง้วนดิน เป็นกระบี่ดิน เครือดิน จนกระทั่งเป็นข้าวสาลี ร่างกาย ของมนุษย์หยาบขึ้น ปรับเปลี่ยนร่างกายของพรหมที่ละเอียดให้หยาบถึงที่สุด เมื่อกินของหยาบมากเข้า บ ท ที่ 8 ส รุ ป ส า ร ะ สำ คั ญ จ า ก ก า ร ศึ ก ษ า จักรวาลวิทยา DOU 169
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More