ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ใบประดู่ลายในพระหัตถ์ของพระองค์น้อยกว่าใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เรื่องที่เราตรัสรู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมากกว่าฉันนั้นเหมือนกัน เรื่องที่เรา
บอกเธอทั้งหลายมีน้อยเหมือนใบไม้ในกำมือ เพราะเหตุไร เพราะว่าเรื่องนั้นไม่ประกอบด้วย ประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและความดับทุกข์”
1.3.2 วิชาจักรวาลวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะ
เรื่องจักรวาลวิทยานี้ เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ การค้นพบ
สรรพสิ่งทั้งหลายนั้นพระองค์ทรงทราบว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่เรียกว่าธรรมนิยาม
ดังที่กล่าวมาแล้ว
เรื่องธรรมนิยามนี้พระองค์ตรัสไว้เพียงบางส่วนไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งภายหลังพระอรรถกถาจารย์
ผู้มีความรู้แตกฉานในธรรมะได้ขยายความเพิ่มเติม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกาย
อรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามออกได้ 5 ประการ คือ
1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์
ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดและการ
ดับสลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ ในตำราพุทธศาสนาที่เขียนโดยชาวตะวันตก มักใช้คำว่า
คนอินเดียในสมัยพุทธกาลสงสัยกันว่า อะไรคือสิ่งกำหนดให้มีความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ
ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นความสม่ำเสมอของฤดูกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาตอบปัญหานี้ว่า สิ่งที่กำหนด คือ
อุตุนิยาม
2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช
และสัตว์ กฎธรรมชาตินี้ทำให้เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ
หรือช้างเมื่อออกลูกมาแล้วย่อมเป็นลูกช้างเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พระพุทธศาสนาค้นพบว่าเป็นผล
มาจากการควบคุมของพีชนิยาม
3. จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนา
ค้นพบว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตมีกฎเกณฑ์ในการทำงาน
เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว ซึ่งเป็นผลมาจากจิตนิยาม
4. กรรมนิยาม (Karmic Laws) คือ กฎการให้ผลของกรรม กรรมคือ การกระทำที่ประกอบด้วย
ความตั้งใจ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อม
ตอบสนองในทางชั่ว นี่คือ กฎแห่งกรรม
มหาปทานสูตร, อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 13 หน้า 100.
14 DOU บ ท ที่ 1 ความ เบืองต้นเรื
นเรื่ อ ง จั ก ร ว า ล วิ ท ย า