ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากความหมายของธาตุที่ท่านผู้รู้หลายท่านให้ไว้นี้พอจะสรุปว่า
ธาตุ หมายถึง สิ่งที่เป็นองค์ประกอบชั้นต้นสุดของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
โดยไม่สามารถจะแยกให้ลึกหรือละเอียดลงไปได้อีกและทำหน้าที่ทรงไว้หรือทำให้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่ได้
2.1.2 การแบ่งธาตุ
ในทางพระพุทธศาสนา เราสามารถแบ่งธาตุออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ธาตุ 4 และ ธาตุ 6 ซึ่ง พ.อ.ปิ่น
มุทุกันต์ อธิบายถึงเหตุที่มีการจัดหรือแบ่งธาตุออกเป็น 2 กลุ่มว่า
“ธาตุที่ทรงแสดงไว้ มีอยู่สองนัย คือ ทรงแยกเป็น 4 ธาตุ กับ 6 ธาตุ ที่แยกเป็น 4 ธาตุนั้นคือ
ทรงชี้เฉพาะธาตุใหญ่ๆ ที่เป็นแม่ธาตุจริงๆ โดยทรงมุ่งหมายให้นักปฏิบัติเห็นได้ง่าย ในทำนองว่า ให้ใช้เป็น
เครื่องประกอบในการทำกรรมฐาน (ธาตุกัมมัฏฐาน) ส่วนที่แยกออกเป็น 6 ธาตุ
เป็นการแยกเพื่อการศึกษา
ชั้นละเอียด สูงขึ้นไป” 1
ธาตุ 4 2
ธาตุ 4 มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภูตรูป 4 หรือมหาภูต 4 ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
และธาตุลม ซึ่งในภาษาบาลีมีชื่อเรียกธาตุดินว่า ปฐวีธาตุ คือธาตุซึ่งเป็นที่ตั้งของธาตุทั้งหลาย เพราะ
สิ่งทั้งหลายต้องมีธาตุดินเป็นองค์ประกอบจึงจะเป็นรูปร่างได้ เรียกธาตุน้ำว่า อาโปธาตุ คือธาตุที่ทำให้
เกิดการเกาะกุมจับรวมตัวเข้าด้วยกัน ทำให้มีลักษณะเอิบอาบและเคลื่อนที่หรือไหลไปมาได้ เรียกธาตุไฟว่า
เตโชธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้ร้อนหรือเย็น และทำให้เกิดการย่อย และเรียกธาตุลมว่า วาโยธาตุ เป็นธาตุที่ทำ
หน้าที่ค้ำจุนธาตุอื่น ทำให้สิ่งต่างๆ เคร่งตึง หรือสั่นไหว
ธาตุทั้ง 4 นี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานหรือดั้งเดิมของสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์
พืช วัตถุสิ่งของทั้งปวง ทั้งที่อยู่ในโลกและนอกโลก หรือจะกล่าวว่าในทุกสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาลก็ได้ ที่กล่าว
เช่นนี้ เพราะว่าสิ่งต่างๆ ทั้งหลายนั้นเกิดจากธาตุทั้ง 4 นี้ผสมกัน หากธาตุชนิดใดมีมากก็จะแสดงลักษณะ
เด่นของธาตุชนิดนั้นออกมา เช่น ถ้าธาตุดินมีมาก สิ่งนั้นก็จะมีลักษณะแข้นแข็ง ถ้าธาตุน้ำมีมาก สิ่งนั้นก็
จะมีลักษณะเป็นของเหลว ไหลเอิบอาบไปได้ง่าย เป็นต้น
2
1 ปิ่น มุทุกันต์, คำบรรยายพุทธศาสตร์ ภาคที่ 3, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : กมลการพิมพ์, 2508) หน้า 102.
จตัสสสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 403 หน้า 488.
26 DOU บ ท ที่ 2 อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง จั ก ร ว า ล