การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสังสารวัฏ GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 165
หน้าที่ 165 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวคิดการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ตามพุทธดำรัสที่แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนในชีวิต การดำรงอยู่ของสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และการเข้าใจถึงความจริงนี้เพื่อลดความทุกข์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ขาดสายที่อาจนำไปสู่การค้นหาความหลุดพ้นจากวงจรนี้ มีการเปรียบเทียบโลหิตที่หลั่งไหลและน้ำในมหาสมุทรเพื่อสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติของชีวิตและการไม่ยึดติดกับสิ่งใด ซึ่งเป็นการแสดงถึงความรู้ที่ช่วยในการหลีกหนีจากทุกข์ที่เกิดจากสังสารวัฏ

หัวข้อประเด็น

- การเวียนว่ายตายเกิด
- สังสารวัฏ
- ความทุกข์และการหลุดพ้น
- หลักการของพุทธศาสนา
- กรรมในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ซึ่งถูกตัดศีรษะ ตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า... เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ... เกิดเป็นแพะ... เกิดเป็นเนื้อ... เกิดเป็นสุกร... เกิดเป็นไก่... เมื่อเธอทั้งหลายถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจร ฆ่าชาวบ้านตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า.... ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจร คิดปล้น... ถูกจับตัดศีรษะ โดยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่นตลอดกาลนาน โลหิตที่ หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย ไม่ได้เลย....” ทรงตรัสถึงการเป็นญาติของสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏใน มาตุสูตร ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา (บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา) โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ” จากพุทธดำรัสที่ทรงแสดงแก่พระภิกษุในครั้งพุทธกาล ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ นี้ จะเห็น ว่าการเวียนว่ายตายเกิดของสัตวโลกนั้นยาวนาน จนเราไม่สามารถที่จะล่วงรู้เบื้องต้นและเบื้องปลายได้เลยว่า เรามีจุดเริ่มต้นของการเกิดมาตั้งแต่เมื่อไร และจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน แต่ที่ทราบแน่ชัดคือ เราเกิดมาแล้ว นับภพนับชาติไม่ถ้วน เคยบังเกิดมาในภพภูมิต่างๆ และเคยเป็นอะไรมาแล้วต่างๆ นานา ทั้งนี้ขึ้นกับกรรม ที่เราและสัตว์ที่เกิดในภพภูมิต่างๆ ได้กระทำไว้ ชีวิตในปัจจุบันของเราและแต่ละท่านไม่ใช่ของใหม่เลย จะเห็นว่าเราเคยเป็นมาสารพัดแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเป็นอยู่นี้ก็ไม่ได้แปลกใหม่ ดังนั้นเราจึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นอะไร เพราะสิ่งทั้งหลาย ไม่แน่นอน ไม่คงทนถาวร เราไม่สามารถฉุดรั้งอะไรไว้ได้ ยิ่งยึดมั่นถือมั่นก็จะพบแต่ความทุกข์อยู่ร่ำไป และหากไม่เข้าใจถึงความเป็นจริงของชีวิต ก็ย่อมวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนี้ ต้องลำบากต้องทนทุกข์ เวียน ว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่สำหรับผู้มีปัญญา เมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เห็นความไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืนในสิ่ง ทั้งหลาย ก็จะบังเกิดความเบื่อหน่าย และหาหนทางที่จะไม่ต้องอยู่ในวังวนแห่งความทุกข์ที่ไม่มีที่สุดนี้ ได้ในที่สุด แต่หากยังไม่เห็นความจริงในสิ่งเหล่านี้ยังคงเพลิดเพลินกับสิ่งที่เราเองก็เคยเป็นเคยพบและเคยลอง มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน เช่นนี้แล้วคงต้องเตรียมตัวเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนต่อไป มาตุสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 450 หน้า 529 บ า ที่ 7 ก ร ณี ศึ ก ษ า ก า ร เ วี ย น ว่ า ย ต า ย เ กิ ด ข อ ง สั ต ว โ ล ก DOU 155
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More