ภูมิแห่งพรหมในฌานต่างๆ GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 83
หน้าที่ 83 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับพรหมในภูมิต่างๆ ที่ได้แก่ อาภัสสรา, ปริตตสุภา, อัปปมาณสุภา และสุภกิณหาในตติยฌานภูมิ รวมถึงเวหัปผลา และอสัญญีสัตตาในจตุตถฌานภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติในการเกิดใหม่ของพรหมแต่ละองค์และอายุขัยที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิ สิ่งที่น่าสนใจคือความอยู่รอดของรูปแบบต่างๆ ในภูมิที่สูงขึ้น และความสามารถในการรักษาตนจากการถูกทำลายในระดับต่างๆ การทำความเข้าใจเหล่านี้อาจทำให้ได้เห็นภาพลักษณ์ของจักรวาลในบริบทของกุศลกรรมและการบรรลุธรรม. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-ภูมิแห่งพรหม
-คุณสมบัติของพรหม
-การดำรงอยู่ของพรหมในแต่ละชั้น
-ฌานและอายุขัยของพรหม
-จักรวาลและกุศลกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาภัสสรา เป็นพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างแก่ มีรัศมีแผ่ซ่านออกมาจากร่างกาย มีความยินดีใน ฌานของตนอย่างเต็มที่ เป็นไปด้วยอำนาจของปีติอยู่เสมอ จิตใจจึงมีความผ่องใสมากอยู่เสมอ ส่งผลให้กาย ผ่องใสจนปรากฏออกมาเป็นรัศมีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย ตติยฌานภูมิ 3 เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้ตติยฌาน สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน สูงขึ้นไปกว่าชั้นทุติยฌานภูมิ ประกอบด้วย ปริตตสุภา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างอ่อน มีรัศมีสวยงามเช่นเดียวกับรัศมีของดวงจันทร์ เป็น ความสว่างที่ไม่กระจัดกระจายออกจากกัน รัศมีรวมกันอยู่เป็นวงกลม แต่ยังสวยงามน้อยกว่าพรหมที่ อยู่เบื้องบน อัปปมาณสุภา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างกลาง มีรัศมีสวยงามหาประมาณมิได้ สุภกิณหา เป็นพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างแก่ มีรัศมีสวยงามตลอดทั่วร่างกาย จตุตถฌานภูมิ 2 เป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้จตุตถฌาน ประกอบด้วย เวหัปผลา เป็นพรหมที่มีผลไพบูลย์ คือเป็นผลของกุศลที่มั่นคงไม่หวั่นไหวเป็นพิเศษ ตามอำนาจของฌาน ผลของกุศลในชั้นปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ ไม่สามารถบังเกิด ในชั้นเวหัปผลาภูมิได้ เพราะเมื่อยามโลกถูกทำลาย ภูมิทั้ง 3 ระดับย่อมถูกทำลายไปด้วย ในบรรดาพรหมทั้ง 9 ภูมิที่กล่าวมา สุภกิณหามีอายุยืนมากกว่าพรหมอื่นๆ ที่เกิดอยู่ในภูมิต่ำกว่า คือมีอายุขัยถึง 64 มหากัป โดยพรหมองค์ที่มีอายุเต็ม 64 มหากัป ต้องเป็นองค์ที่อุบัติขึ้นพร้อมการ สร้างโลกใหม่ ส่วนองค์ที่เกิดตามมาภายหลังย่อมมีอายุลดลงตามลำดับ เมื่อครบกำหนด 64 มหากัป ตติยฌานภูมินี้จะถูกทำลายด้วยลมทุกครั้งไป สำหรับเวหัปผลาภูมิพ้นจากการถูกทำลายทั้งด้วยไฟ น้ำ และลม พรหมทุกองค์ที่บังเกิด ณ ที่นี้จึงมีอายุขัยได้เต็มที่ คือ 500 มหากัปเสมอไป อสัญญีสัตตา เป็นพรหมที่ไม่มีนามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มีแต่รูปขันธ์ คือดับ ความรู้สึกข้างนอกหมด ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น แต่กิเลสยังไม่ดับ มีรูปร่างผิวพรรณงดงามคล้ายพระพุทธรูป ทองคำ มีอิริยาบถ 3 อย่าง คือ นั่ง นอน หรือยืน แล้วแต่อิริยาบถก่อนตายในชาติที่แล้วมา และจะอยู่ใน อิริยาบถเดียวนิ่งๆ แข็งทื่ออยู่อย่างนั้นจนครบอายุขัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พรหมลูกฟัก จตุตถฌานภูมิทั้ง 2 นี้ตั้งอยู่กลางอากาศ สูงกว่าตติยฌานภูมิ พรหมใน 2 ชั้นนี้สามารถมองเห็น บ ท ที่ 3 โค ร ง ส ร้ า ง ข อ ง จั ก ร ว า ล DOU 73
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More