ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีมิตรดี กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้น แล้วย่อมเสื่อมไป” 1
จากพุทธพจน์บทนี้ ทำให้เราทราบความสำคัญของกัลยาณมิตร ที่จะคอยแนะนำชี้แนวทางที่ถูกต้อง
ให้แก่เรา ให้ประกอบแต่กุศลกรรม ละอกุศลกรรมให้หมดสิ้น ส่วนอกุศลกรรมที่ยังไม่ได้ทำก็แนะนำ
ไม่ให้กระทำอีก การมีกัลยาณมิตรเป็นสิ่งที่ดีดังที่กล่าวมานี้
ยังมีพุทธพจน์อีกบทหนึ่งที่แสดงถึงความสำคัญของกัลยาณมิตร และพระองค์ทรงเป็นที่สุดแห่ง
กัลยาณมิตรที่ชัดเจน ดังเรื่องที่พระอานนท์กล่าวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า การมีกัลยาณมิตรเป็น
กึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์ ในการครองชีวิตอันประเสริฐ เมื่อพระองค์ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงทรงคัดค้านทันที
โดยตรัสแสดงว่า กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ดังนี้
“ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อม
ไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดเลย” 2
ครั้นแล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงต่อไปอีกว่า พระองค์คือกัลยาณมิตร ผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก
ทั้งหลายให้บรรลุความหลุดพ้นดังนี้
“ดูก่อนอานนท์ ด้วยว่าอาศัยเราเป็นมิตรดี สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้น
จากความเกิดได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเจ็บป่วยได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความตายได้
สัตว์ทั้งหลายผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
ย่อมหลุดพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจได้”
สาระสำคัญของพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ อาจกล่าวได้ว่า ความสำคัญของกัลยาณมิตร อยู่ที่การเป็นผู้
ปลูกฝัง สั่งสอน อบรม ชี้แนะ ประคับประคองบุคคลให้ประพฤติปฏิบัติเฉพาะแต่กุศลธรรม จนเกิดเป็น
ลักษณะนิสัย ซึ่งจะส่งผลให้สัมมาทิฏฐิพัฒนาขึ้นในจิตใจของเขายิ่งๆ ขึ้นไปตลอดชีวิต สามารถครองชีวิต
อยู่อย่างสันติสุขและบรรลุความหลุดพ้นได้ในที่สุด ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นแบบอย่างอันประเสริฐ
ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
บ
2
อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, กัลยาณมิตตตาทวรรค, มก. เล่ม 32 ข้อ 72 หน้า 142.
ทุติยอัปปมาทสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 382 หน้า 482.
บ ท ที่ 8 ส รุ ป ส า ร ะ สำ คั ญ จ า ก ก า ร ศึ ก ษ า จั ก ร ว า ล วิ ท ย า DOU 173