ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปฐวีธาตุเป็นองค์ประกอบหลัก คือมีความเข้มข้นหรืออัตราส่วนที่มากกว่าธาตุอื่นอีก 3 ธาตุ จะทำให้วัตถุ
สิ่งของนั้น มีลักษณะแข็งปรากฏขึ้น เช่น การที่เหล็ก หิน ไม้ มีลักษณะแข็งเป็นเพราะว่า มีธาตุดินในอัตรา
ส่วนที่มากกว่าธาตุอื่น ในขณะเดียวกัน ถ้าวัตถุสิ่งใดๆ ก็ตาม มีองค์ประกอบเป็นธาตุดินในปริมาณน้อย หรือมี
อัตราส่วนที่น้อยกว่าธาตุอื่น ลักษณะแข็งที่ปรากฏในวัตถุสิ่งของนั้นก็ปรากฏไม่มาก แต่จะมีลักษณะอ่อน
ความแข็งความอ่อนของวัตถุสิ่งของทั้งปวงจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของปฐวีธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งนั้นๆ
และปฐวีธาตุนี้เท่านั้นที่ทำให้สิ่งต่างๆ แข็งหรืออ่อน โดยที่ธาตุอื่นไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้
ธาตุดินหรือปฐวีธาตุนี้ มีทั้งที่อยู่ภายในร่างกาย และที่อยู่ภายนอกร่างกาย โดย
ปฐวีธาตุภายในร่างกาย คือ อวัยวะและสิ่งต่างๆ ในร่างกายเราที่มีลักษณะแข็ง หรือรวมตัวกัน
เป็นก้อนจนสามารถกำหนดได้ ซึ่งได้แก่ อวัยวะน้อยใหญ่ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นๆ ที่มี
ลักษณะข้นแข็ง แม้ในส่วนที่เป็นของเหลว เช่น เลือด ก็มีธาตุดินผสมอยู่ แต่มีในสัดส่วนที่น้อยกว่าอวัยวะ
ที่เป็นของแข็ง และถ้าเลือดของใครมีธาตุดินมากก็จะมีลักษณะเลือดข้น
ปฐวีธาตุภายนอก คือ สิ่งต่างๆ ที่เป็นของแข็งหรือมีลักษณะแข็ง กระด้าง ได้แก่ วัตถุ สิ่งของ
ทั้งปวง เป็นต้นว่า บ้าน รถยนต์ เรือ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภูเขา หิน ดิน ต้นไม้ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลาย
ปฐวีธาตุนี้ เป็นที่ตั้งที่อาศัยของธาตุอื่นและสรรพสิ่งทั้งหลาย ถ้าปราศจากปฐวีธาตุแล้วสิ่งอื่นไม่
สามารถดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือนสิ่งต่างๆ ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยแผ่นดินรองรับ ถ้าปราศจากแผ่นดิน
สิ่งต่างๆ ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ หรือเปรียบปฐวีธาตุเป็นเช่นกับแก้ว ส่วนธาตุอื่นเปรียบเสมือนน้ำ ตามธรรมชาติ
ของน้ำไม่สามารถคงรูปได้ แต่เมื่อเรานำน้ำมาใส่ในแก้วที่มีรูปทรงต่างๆ ทำให้น้ำสามารถคงรูปเป็น
ลักษณะต่างๆ ได้เพราะอาศัยแก้ว ทำนองเดียวกันที่เราเห็นเป็นสิ่งต่างๆ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น
อาศัยปฐวีธาตุ หรือธาตุดินจึงมีรูปร่างต่างๆ นานา
2. อาโปธาตุ
อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ เช่นเดียวกัน ธาตุน้ำในที่นี้ก็ไม่ได้จำเพราะเจาะจงว่าเป็นน้ำตามแหล่งน้ำ
ต่างๆ ที่เรารู้จัก ไม่ว่าจะเป็นน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำบาดาล หรือน้ำในทะเล แต่ธาตุน้ำในที่นี้ หมายถึง
สิ่งที่มีลักษณะไหลหรือเกาะกุมรวมตัวได้ และมีคุณสมบัติทำให้วัตถุหรือสิ่งต่างๆ เกาะกุมรวมตัวเข้าเป็น
กลุ่มก้อน หรือไหลได้ โดยที่ธาตุน้ำนี้ ถ้ามีอยู่เป็นจำนวนมากในวัตถุสิ่งใดๆ ก็ตาม จะทำให้สิ่งของเหล่านั้น
เหลวและไหลไปได้ แต่ถ้ามีจำนวนน้อยจะทำให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เกาะกุมกันเป็นกลุ่มก้อน อุปมาเหมือน
ยางเหนียว ที่สามารถเชื่อมประสานวัตถุสิ่งของให้ติดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้
หากว่าในวัตถุใดมีจำนวนธาตุน้ำมากกว่าธาตุดินอำนาจของธาตุน้ำจะทำให้ธาตุดินมีอำนาจน้อยลง
28 DOU บ ท ที่ 2 อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง จั ก ร ว า ล