ข้อความต้นฉบับในหน้า
มนุษย์ใช้อาศัยในการดำรงชีวิต จำเป็นต้องทำความรู้จักให้มากที่สุด เพื่อจะได้อยู่ในโลกใบนี้อย่างปลอดภัย
และมีความสุข
เนื้อหาต่อไปนี้จะนำเสนอเรื่องแหล่งความรู้ในทางพุทธศาสตร์ เพื่อให้เห็นแนวทางการค้นหาคำตอบ
ของโลกและจักรวาลด้วยพุทธวิธี ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ คำตอบที่ได้มีทั้งส่วนที่เหมือนและ
แตกต่างกัน
1.3.1 การค้นพบกฎธรรมชาติ
พระพุทธศาสนา ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาที่มีคำสอนประกอบไปด้วยความเป็นเหตุเป็นผล ความรู้ต่างๆ
ในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดว่ามีเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ทรงรู้ แต่ตรงกันข้าม
ถ้ามีใครที่พูดตรงกับความจริง พระพุทธองค์ก็ทรงรับว่าเรื่องนั้นเป็นความจริง ความจริงในที่นี้ คือ ธรรมะ
พระองค์ไม่ใช่เจ้าของธรรมะ ธรรมะเป็นของกลางๆ ที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ บุคคลใดสามารถเข้าถึงธรรม
นั้นได้ย่อมได้ชื่อว่าค้นพบความจริงเช่นนั้น ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงที่เป็นกฎธรรมชาตินั้นแล้ว
ทรงนำมาแสดงให้ชาวโลกได้รับทราบ ในทำนองเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอยู่แล้ว นักวิทยาศาสตร์
เป็นผู้ค้นพบในภายหลัง ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
“พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตามธาตุนั้นก็ยังคงมีอยู่เป็นธรรม
ฐิติ เป็นธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติ) คือ หลักอิทัปปัจจตา พระตถาคต ตรัสรู้ เข้า
ถึงธาตุนั้นแล้ว จึงบอกแสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้
เข้าใจง่ายและจึงตรัสว่า จงดูสิ”
คำว่า ธรรม ในที่นี้หมายถึง กฎธรรมชาติ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบมีมากมายหลายประการ
เพราะญาณทัสสนะของพระองค์กว้างไกลสุดประมาณ ที่เรียกว่าสัพพัญญุตญาณ แต่พระองค์
ไม่ได้นำมาสอนแก่ชาวโลกทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน
แต่พระองค์ทรงเลือกธรรมะ ที่เป็นไปเพื่อการบรรลุธรรม หลุดพ้นจากวัฏสงสารเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆ
ที่นอกเหนือจากการบรรลุธรรมแล้ว จะศึกษาทำความเข้าใจในภายหลัง สำหรับธรรมะที่พระองค์
นำมาสอนนั้นเปรียบได้กับใบไม้ในกำมือ ส่วนธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้แล้วแต่ไม่ได้นำมาสอนนั้นเปรียบได้กับ
ใบไม้ในป่า ดังที่ปรากฏใน สีสปาปัณณวรรค ว่า
ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ป่าประดู่ลาย ทรงหยิบใบประดู่ลายขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้ว ตรัสถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า “ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่เราถือไว้ในมือ กับใบที่อยู่บนต้นประดู่ลายอย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ปฏิจจสมุปปาทกถา, พระอภิธรรมปิฎกกถาวัตถุ, มก. เล่ม 81 ข้อ 1086 หน้า 10.
*สีสปาสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 1712 หน้า 449.
บ ท ที่
1
ความรู้เบื้องต้นเรื่ อ ง จั ก ร ว า ล วิ ท ย า DOU 13