กำเนิดจักรวาล โลก และมนุษย์ ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 97
หน้าที่ 97 / 184

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงการกำเนิดจักรวาล โลก และมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะในอัคคัญญสูตร ซึ่งให้ข้อคิดถึงที่มาของวรรณะ การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง และธรรมและอธรรมที่กำหนดคุณค่าของบุคคล ไม่ได้เกิดจากวรรณะแต่เกิดจากการกระทำของตนเอง ที่นำไปสู่ความเข้าใจที่หลากหลายเกี่ยวกับการสร้างโลกและวรรณะในสังคม ตลอดจนความเชื่อที่มีมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

-กำเนิดจักรวาล
-หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
-ความหมายของวรรณะ
-การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์
-ข้อคิดจากอัคคัญญสูตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.4 กำเนิดจักรวาล โลก และมนุษย์ ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา 4.4.1 ปฐมเหตุที่ทรงแสดง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่องการกำเนิดจักรวาล โลก มนุษย์ และสิ่งต่างๆ ไว้ใน อัคคัญญสูตร พระสูตรนี้กล่าวถึงการบังเกิดขึ้นของจักรวาล โลก มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้ อัคคัญญสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนี้ มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะกล่าวถึงการกำเนิดของโลก และ มนุษย์ ตลอดจนสรรพสิ่งโดยตรง เพียงแต่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่สามเณร 2 รูป คือ วาเสฏฐสามเณร และภารทวาชสามเณร เพื่อจะบอกเหตุอันเป็นความเชื่อในเรื่องของวรรณะที่พวกพราหมณ์ยึดถือต่อๆ กันมา เนื่องจากสามเณรทั้งสองนั้นเกิดมาจากวรรณะของพราหมณ์ ซึ่งในยุคสมัยนั้นถือกันว่า วรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะสูง จะเป็นรองก็เพียงวรรณะกษัตริย์เท่านั้น แต่ทั้งสองกลับมาบวชในพระพุทธศาสนา ที่พวกพราหมณ์เรียกว่าเป็นสมณะโล้น จัดเป็นวรรณะที่เลวทราม เกิดจากเท้าของพรหม พระศาสดาเมื่อทรงสดับเช่นนั้น จึงทรงชี้ให้เห็นถึงที่มาที่ไปแห่งการเรียกชื่อของวรรณะต่างๆ เพื่อให้สามเณรทั้งสองนั้นทราบ โดยทรงหยิบยกเอาเรื่องตั้งแต่การที่จักรวาลยังกลายเป็นน้ำเรื่อยมา จนเกิดมีการสมมุติชื่อของวรรณะต่างๆ ขึ้น แล้วทรงสรุปว่าการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะประเสริฐหรือเลวทราม ก็ด้วยการกำหนดจากธรรมและอธรรมที่เขาประพฤติเท่านั้น หาได้กำหนดจากสิ่งอื่นไม่ ถึงอย่างไรก็ตาม แม้พระสูตรจะมิได้มุ่งหมายที่จะกล่าวถึงการบังเกิดขึ้นของจักรวาลโลกมนุษย์ และสรรพสิ่งโดยตรง แต่เนื้อหา ของพระสูตรก็ทำให้เราทราบว่ามนุษย์ ตลอดจนสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่เราต่างสงสัยและโต้เถียงกันมา ยาวนานนั้น มีจุดกำเนิดหรือที่มาอย่างไร 4.4.2 หลักในการพิจารณาก่อนเชื่อ การกำเนิดขึ้นของจักรวาล โลก หรือมนุษย์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งปวงนี้ เป็นคำสอนหรือความรู้ใน พระพุทธศาสนาดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นอาจจะมีบางท่านที่เคยศึกษาแล้วอาจจะไม่เห็นด้วย หรือมีข้อ ขัดแย้งเกิดขึ้นในใจ ซึ่งไม่ใช่สิ่งแปลกแต่อย่างใด การที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะรู้สึกปฏิเสธหรือต่อต้านในสิ่งที่ผิดไป จากที่ตนเคยรู้เคยได้ยินมา หรือแม้กระทั่งผิดไปจากสิ่งที่ตนเชื่อมั่นหรือคาดหวัง พระพุทธองค์ทรงทราบดีว่า อัคคัญญสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกาวรรค, มก. เล่ม 15 ข้อ 51-72 หน้า 145-165. * ในอินเดียจัดคนออกเป็นวรรณะต่างๆ 4 วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร กษัตริย์และพราหมณ์จัดว่าเป็น วรรณะสูง แพศย์เป็นวรรณะกลาง ส่วนศูทรเป็นวรรณะต่ำ ทั้ง 4 วรรณะนี้จะดูถูกเหยียดหยามกัน จะไม่มีการคลุกคลี กันข้ามวรรณะ ถ้าหากว่ามีชายหญิงใดที่มีวรรณะต่างกันมีความสัมพันธ์กันจนมีทารกออกมา ทารกนั้นจะเป็นที่รังเกียจ ของคนทั้งหลายและจะถูกเรียกว่า จัณฑาล บทที่ 4 การกำเนิด จั ก ร ว า ล โ ล ก และ มนุษย์ DOU 87
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More