การเข้าใจความเจริญและความเสื่อมในพระพุทธศาสนา GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 126
หน้าที่ 126 / 184

สรุปเนื้อหา

การศึกษาความเจริญและความเสื่อมส่วนใหญ่สอนให้มนุษย์รู้จักทำความดีเพื่อพัฒนาตนเองให้เข้าถึงพระนิพพาน โดยผ่านการรู้ผิดชอบและเลือกสังคมที่ดี เช่น กัลยาณมิตร บทเรียนในพระธรรมที่เผยแผ่โดยพระสงฆ์เป็นแนวทางที่ช่วยเราให้พ้นจากความทุกข์ในวัฏสงสาร เราสามารถเห็นภาพของคนพาลและบัณฑิตผ่านการเปรียบเทียบในพระสูตรต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-การทำความดี
-ธรรมะจากพระพุทธเจ้า
-การศึกษาความเจริญและความเสื่อม
-กัลยาณมิตรและคนพาล
-อวิชชาและนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากการศึกษาเรื่องความเจริญและความเสื่อมอย่างถ่องแท้ แล้วตั้งใจทำความดีอย่างเต็มกำลัง เพื่อพัฒนาความเจริญทางกายกับทางใจ ให้ไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงของมนุษย์ คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ มีอวิชชาครอบงำอยู่ตั้งแต่เกิด ทำให้ลืมเรื่องราวว่าก่อน จะมาเกิดเรามาจากไหน ทำไมถึงมาเกิดอยู่ในโลกนี้ได้ และเมื่อตายแล้วจะไปอยู่ที่ไหน เรื่องเหล่านี้ เป็นสิ่ง ที่ค้างอยู่ในใจของมนุษย์ทุกยุค ทุกสมัย ตราบเท่าที่ยังไม่เจอผู้รู้ที่แท้จริงที่จักนำพาให้พ้นจากความทุกข์ใน วัฏสงสาร แต่เมื่อได้เจอกัลยาณมิตรผู้ประเสริฐที่สุดในโลกคือพระพุทธเจ้า เมื่อนั้นก็จักสามารถรู้เป้าหมาย ชีวิตที่แท้จริง โดยผ่านคำสอนของพระองค์ และถึงแม้ว่าในยุคนี้เราจะเกิดมาไม่ทันพระองค์ แต่เราก็ได้เกิดมา ทันเจอคำสอนของพระพุทธองค์ และได้เกิดมาในยุคที่พระพุทธศาสนายังคงอยู่ในโลก ซึ่งมีพระสงฆ์ผู้สืบทอด พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแผ่ธรรมะให้โลกรู้ ถึงคุณลักษณะของกัลยาณมิตรผู้เป็นต้นแบบ ของความเจริญ มาเปรียบเทียบกับลักษณะของคนพาลที่เป็นทางมาแห่งความเสื่อม โดยได้เปรียบเทียบไว้ หลายพระสูตรดังต่อไปนี้ ตารางเปรียบเทียบลักษณะของคนพาลและบัณฑิต ลักษณะของคนพาล 1) กายทุจริต' ลักษณะของกัลยาณมิตร (บัณฑิต) 2) วจีทุจริต 3) มโนทุจริต 1) คิดชั่ว 2) พูดชั่ว 3) ทำชั่ว 1) ไม่เห็นความผิดของตนเองว่าเป็นความผิด 2) รู้ว่าตนทำผิดแล้ว ก็ไม่ยอมขอโทษ 3) เมื่อผู้อื่นทำผิดแล้วขอโทษ ก็ไม่ยอมให้อภัย 1) กายสุจริต 2) วจีสุจริต 3) มโนสุจริต 1) คิดดี 2) พูดดี 3) ทำดี 1) เห็นความผิดของตนเองว่าเป็นความผิด 2) รู้ว่าตนทำความผิดแล้ว ก็ยอมขอโทษ 3) เมื่อผู้อื่นทำความผิดแล้วขอโทษ ก็ยอมให้อภัย 1 ลักขณสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 441 หน้า 5 จินตสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 442 หน้า 7 อัจจยสูตร, อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 443 หน้า 9 1 116 DOU บ ท ที่ 5 ค ว า ม เสื่ อ ม ข อ ง จั ก ร ว า ล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More