แนวคิดเกี่ยวกับธาตุ GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 33
หน้าที่ 33 / 184

สรุปเนื้อหา

แนวคิดเกี่ยวกับธาตุในธรรมชาติมีความสำคัญในการศึกษา สรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นชีวิตหรือไม่มีชีวิตล้วนเกิดจากธาตุ ธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ในขณะที่ธาตุ 6 เพิ่มธาตุอากาศและธาตุวิญญาณที่มีเฉพาะในสิ่งมีชีวิต โดยธาตุแต่ละชนิดมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับการรักษาศีลและการปฏิบัติธรรม การคบกับคนหรือสัตว์ประเภทเดียวกันก็เกี่ยวข้องกับธาตุที่อยู่ในตัวของตนเอง

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดเกี่ยวกับธาตุ
-ประเภทของธาตุ
-คุณสมบัติของธาตุ
-ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุกับชีวิต
-การเปลี่ยนแปลงของธาตุในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยองค์ประกอบพื้นฐานชั้นต้นที่ ละเอียดสุด เรียกว่า “ธาตุ” เป็นองค์ประกอบที่แท้จริงหรือองค์ประกอบดั้งเดิมซึ่ง ละเอียดสุด ไม่สามารถแยกย่อยให้ละเอียดไปกว่านี้ได้อีก 2. ธาตุ หมายถึงสิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง มีอยู่โดยธรรมดาจะแยกออกไปอีกไม่ได้ ทำหน้าที่ทรงไว้หรือทำให้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่ได้ 3. ธาตุ 4 ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ซึ่งมีอยู่ในทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะ มีชีวิตหรือไม่มีก็ตาม แต่ธาตุ 6 ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ และ ธาตุวิญญาณ จะมีปรากฏครบเฉพาะในสิ่งมีชีวิตคือมนุษย์และสัตว์เท่านั้น ทั้งนี้ไม่รวมต้นไม้ แม้ต้นไม้จะมีชีวิตแต่ไม่มีธาตุรับรู้คือไม่มีวิญญาณธาตุครอง 4. ธาตุแต่ละธาตุมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกัน เช่น ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข็ง มีคุณสมบัติพิเศษ กว่าธาตุอื่นคือทำให้สิ่งต่างๆ แข็งหรืออ่อน โดยที่ธาตุอื่นไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ถ้าปราศจาก ปฐวีธาตุแล้ว สิ่งอื่นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำมีคุณสมบัติทำให้วัตถุหรือสิ่งต่างๆ เกาะกุมรวมตัวเข้าเป็นกลุ่มก้อน หรือไหลได้ เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น มีหน้าที่ ทำให้วัตถุต่างๆ สุก และละเอียดนุ่มนวล ให้ความอบอุ่น ฯลฯ วาโยธาตุ คือ 1 ธาตุลม มีลักษณะ เคร่งตึงและเคลื่อนไหว ทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนจากที่เดิมไปได้ อากาศธาตุ คือ ช่องว่าง ที่ว่าง ความว่างเปล่า สถานที่ที่ไม่มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ หรือช่องว่าง ที่อยู่ระหว่าง ธาตุต่างๆ วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ วิญญาณธาตุนี้เมื่อเข้าไปอยู่ในธาตุทั้ง 5 จะทำให้สิ่งนั้นมีชีวิต แต่โดยปกติแล้ว จะมีเฉพาะในคนและสัตว์ และมีอยู่ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น 5. การศึกษาเรื่องธาตุทำให้เราทราบว่า สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มี ชีวิตก็ตามล้วนเกิดจากการที่ธาตุทั้งหลายมารวมตัวกัน และการที่สิ่งต่างๆ มีความแตกต่างกัน ก็เพราะสัดส่วนของธาตุต่างกัน แต่ธาตุที่ประกอบเป็นมนุษย์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือ สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ด้วยการรักษาศีลและปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา นอกจากนี้ยัง ทราบอีกว่าสัตวโลกคบกันโดยธาตุ คือสัตว์ประเภทใดก็เข้าหมู่สัตว์ประเภทนั้น คนก็เช่นกัน จะคบหาสมาคมกันกับคนที่มีธาตุเหมือนกัน แต่เนื่องจากธาตุมีการแปรเปลี่ยนได้และมีอำนาจ เหนี่ยวนำได้ ดังนั้นการคบหาคน หรือใกล้ชิดกับคนประเภทใด ธาตุในตัวของเราก็อาจถูก เหนี่ยวไปเหมือนธาตุของเขาได้ พระพุทธศาสนาจึงสอนให้หลีกเลี่ยงการคบคนพาล แต่ให้ หมั่นคบบัณฑิต อย่างไรก็ตามธาตุทั้งหลายล้วนตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อถึง บ ท ที่ 2 อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง จั ก ร ว า ล DOU 23
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More