หน่วยวัดเวลาของจักรวาลในพระพุทธศาสนา GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 94
หน้าที่ 94 / 184

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายหน่วยวัดเวลาของจักรวาลตามพระพุทธศาสนา ซึ่งมีระยะเวลาที่ยาวนานมากจนไม่สามารถนับด้วยหน่วยเวลาทั่วไปได้ เช่น อสงไขย (เท่ากับ 10^140) และอายุกัปที่หมายถึงอายุเฉลี่ยของสัตว์ในภูมิต่างๆ เช่น ในมนุษย์สมัยพุทธกาลที่มีอายุเฉลี่ย 100 ปี นอกจากนี้ยังมีการอธิบายเกี่ยวกับอันตรกัปและอสงไขยกัป โดยอันตรกัปคือระยะเวลาที่อายุของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามกรรมต่างๆ ซึ่งครบเวลาในแต่ละรอบของอายุจนถึง 1 อสงไขยกัป รวมถึงระยะเวลาเมื่อจักรวาลอยู่ระหว่างการเสื่อมสลายและการเกิดใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น.

หัวข้อประเด็น

-หน่วยวัดเวลาของจักรวาล
-อายุขัยในพระพุทธศาสนา
-อันตรกัป
-อสงไขยกัป
-การเสื่อมสลายและเกิดใหม่ของจักรวาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.2 หน่วยวัดเวลาของจักรวาล จากการค้นพบของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังที่กล่าวไว้แล้วในบทที่ 1 พระองค์ทรงพบว่าระยะเวลา ในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปของจักรวาลนั้นยาวนานมาก ไม่ใช่ร้อยปี ไม่ใช่พันปี ไม่ใช่แสนปี ไม่ใช่ล้านปี แต่นานกว่านั้นมาก จนต้องใช้คำว่า อสงไขย (มีค่าเท่ากับ 10140) เป็นตัวนับ ซึ่งคำนี้ เป็นคำที่มี เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ดังนั้น การที่เราจะนับการกำเนิด การตั้งอยู่ และการเสื่อมสลายไปของจักรวาล ไม่สามารถที่จะ นับเป็นหน่วยวัดอย่างที่ใช้กันในปัจจุบันได้ เพราะเป็นหน่วยที่เล็กเกินไป หน่วยวัดที่มีปรากฏในพระพุทธศาสนา คือ คำว่า กัป มี 4 อย่าง ดังนี้ คือ 4.2.1 อายุกัป หมายถึง อายุขัยของสัตว์ที่เกิดในภูมินั้นๆ เช่น โลกมนุษย์เรานี้ เมื่อสมัยพุทธกาลคน ส่วนใหญ่อายุเฉลี่ย 100 ปี ก็นับเอา 100 ปี เป็นอายุกัป ปัจจุบันอายุมนุษย์เฉลี่ย 75 ปี ก็นับเอา 75 ปีเป็น อายุกัป ในส่วนเทวภูมิ เช่น จาตุมหาราชิกามีอายุขัย 500 ปีทิพย์ ก็นับเอาจำนวนดังกล่าวเป็นอายุกัป แม้ในภูมิอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน 4.2.2 อันตรกัป มีวิธีนับดังนี้ คือ เมื่อสมัยต้นกัป มนุษย์มีอายุยืนถึงอสงไขยปี ต่อมาอายุมนุษย์ค่อยลดลง ตามอำนาจอกุศลกรรม ลดลงเรื่อยๆ จนถึงอายุ 10 ปี แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกุศลกรรม จนถึง อสงไขยปี ครบเวลาไขอายุลงและไขอายุขึ้นรอบหนึ่ง เรียกระยะเวลาดังกล่าวว่า 1 อันตรกัป 4.2.3 อสงไขยกัป จำนวนเวลาของอันตรกัปที่กล่าวแล้วข้างต้น 64 อันตรกัป เรียกว่า 1 อสงไขยกัป ซึ่งมีปรากฏใน กัปปสูตร ว่าด้วยอสงไขย 4 แห่งกัป ซึ่งจะขอสรุปเป็นสำนวนที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้ 1. สังวัฏอสงไขยกัป คือ ระยะกาลเมื่อกับเสื่อม คือขณะที่จักรวาลกำลังถูกทำลายอยู่ เป็นระยะเวลา 1 อสงไขยกัป 2. สังวัฏฏฏฐายีอสงไขยกัป คือ ระยะกาลเมื่อกับอยู่ในระหว่างพินาศ คือ ระยะเวลาที่ จักรวาลถูกทำลายหมดสิ้น ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลยมีแต่ความว่างเปล่า เป็นระยะเวลา 1 อสงไขยกัป 2 ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์, 2546) หน้า 207. ถวิล วัติรางกูล, , เราคือใคร, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2530) หน้า 35. กัปปสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 156 หน้า 371-372. 84 DOU บทที่ 4 ก า ร กำเนิด จั ก ร ว า ล โ ล ก แ ล ะ ม นุ ษ ย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More