ความรู้แจ้งในพระพุทธศาสนา GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 26
หน้าที่ 26 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่ใสบริสุทธิ์และผลกระทบจากกิเลสที่ทำให้จิตขุ่นมัว การรวมจิตเพื่อให้มีพลังและความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ อย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการฝึกจิตตั้งแต่สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และความรู้แจ้งหรือวิชชา 3 ที่เป็นความรู้สูงสุด เพื่อเข้าใจการเกิดและการดับของสรรพสิ่ง และสามารถย้อนอดีตได้

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะของจิต
-กิเลสและผลกระทบที่มีต่อจิต
-การรวมจิตเพื่อความเข้มแข็ง
-วิชชา 3 และความรู้แจ้งในพระพุทธศาสนา
-การฝึกจิตในประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ของจิตนั้นมีลักษณะใสบริสุทธิ์ แต่เมื่อจิตถูกกิเลสครอบงำทำให้จิตมีสภาพที่ผิดปกติ ขุ่นมัวแปรปรวน กระจัดกระจาย ทำให้คุณภาพใจลดลง ไม่มีอานุภาพ แต่เมื่อใดได้รวมจิต คือ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ให้หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งอันถาวรของใจแล้ว ใจของเราจะมีพลัง อุปมาเหมือนการรวมแสงอาทิตย์ด้วยเลนส์ เมื่อแสงตกกระทบเลนส์จะทำให้แสงที่กระจัดกระจายอยู่นั้น รวมเป็นจุดเดียว จนเกิดเป็นความร้อนสามารถเผาผลาญวัสดุที่เป็นเชื้อไฟได้ ใจก็มีลักษณะเดียวกัน เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียว ความคิดไม่ชัดส่าย ไม่กระจัดกระจาย ย่อมมีพลังในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างอัศจรรย์ ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติม คือ เรื่องการเดินทางของแสงที่มีการค้นพบว่าเร็วที่สุดในขณะนี้ เทียบกับ ความเร็วของใจ ไม่น่าเชื่อใช่ไหมว่า ใจของเรานั้น มีความเร็วที่เหนือแสงอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่คิดไม่แปลก สมมุติว่าเราเคยไปประเทศอเมริกา เมื่อเรานึกถึงอเมริกา เราจะใช้เวลาเพียงไม่ถึงเสี้ยววินาทีที่เดินทางไป ถึงสถานที่ที่เราเคยไป เป็นการย้อนอดีตแห่งกาลเวลาในความทรงจำได้อย่างน่าอัศจรรย์ วิธีการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยการฝึกจิตดังกล่าวนั้น มิใช่เพิ่งจะมีครั้งแรกในสมัยของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น แต่มีมายาวนานก่อนหน้านั้น เป็นการฝึกจิตของพวกฤาษี นักพรต เจ้าลัทธิ ต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความรู้เห็นภาพทางจิตได้เหมือนกัน แต่ว่ารู้เห็นไม่สมบูรณ์รู้เป็นส่วนๆ และได้นำความรู้ นั้นมาเผยแพร่ เช่น เห็นสวรรค์บ้าง พรหมบ้าง จึงยึดถือว่าสิ่งที่ตนเห็นนั้น เป็นผู้สร้างสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลก พระองค์เป็นผู้ฝึกฝนตนเองดีแล้ว และเป็นผู้ฝึก จิตอย่างสม่ำเสมอ สั่งสมอบรมบ่มบารมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วนจนกระทั่งบารมีของพระองค์เต็มเปี่ยม จึง ทรงค้นพบความจริงของสรรพสัตว์และสรรพสิ่งว่ามีความเป็นมาอย่างไร การกำเนิดและแตกดับของโลก จักรวาลและสรรพสิ่งเกิดขึ้นได้อย่างไร พระองค์ได้ทรงนำมาตรัสแสดงให้ชาวโลกได้รับรู้ ดังที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ซึ่งความรู้ที่ว่านี้ คือ ความรู้แจ้ง เป็นความรู้อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา ความรู้แจ้ง หรือความรู้ อันวิเศษดังกล่าวเรียกว่า วิชชา 3 ประกอบด้วย 1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สามารถระลึกชาติในอดีตได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง จนถึงนับชาติไม่ถ้วนบ้าง 2. จุตูปปาตญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้รู้การเกิด การตายของสัตวโลกทั้งหลายด้วยกรรมอะไร มีผิวพรรณ เลว ละเอียดประณีต ได้ดี ตกยากอย่างไร ด้วยทิพยจักษุ 3. อาสวักขยญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้ที่ปราบกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป ในวิชชา 3 นั้น วิชาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นวิธีที่ทำให้เรารู้เรื่องความเป็นไปของโลก โดยระลึกชาติย้อนหลังไปในยุคที่โลกเริ่มก่อตั้ง จนถึงแตกทำลายได้ ความรู้เหล่านี้เอง ที่สามารถ พิสูจน์เรื่องการกำเนิด และเสื่อมสลายของโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งหลายได้ โดยฝึกฝนตนเอง อจินติตสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 77 หน้า 235 16 DOU บ ท ที่ 1 ค ว า ม เบื่องต้นเ นเรื่ อ ง จั ก ร ว า ล วิ ท ย า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More