การทำธาตุให้บริสุทธิ์ GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 45
หน้าที่ 45 / 184

สรุปเนื้อหา

การทำธาตุให้บริสุทธิ์เกิดจากการรักษาศีลและปฏิบัติธรรม ซึ่งผลของความบริสุทธิ์ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและการปฏิบัติที่ดี ยิ่งรักษาศีลได้ดีมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้สามารถเข้าถึงธรรมะภายในได้ดีขึ้นและไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ผลัดกันได้อย่างละเอียดในแต่ละชนิดของธาตุต่างกัน สิ่งนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับสัตว์และมนุษย์เช่นกันตามธรรมชาติของแต่ละชนิดและคุณสมบัติในตัว

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-ปฏิบัติธรรม
-คุณสมบัติของธาตุ
-ความบริสุทธิ์ของธาตุ
-อานิสงส์ในการทำธาตุให้บริสุทธิ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การที่จะทำธาตุให้บริสุทธิ์นี้ สามารถทำได้โดยการรักษาศีล และปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งศีลก็มีด้วยกันหลายระดับ ผลของศีลก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของศีลและความตั้งใจในการรักษา เช่น ศีลของผู้ครองเรือน ศีลของนักบวช การปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาก็เช่นกัน ย่อมให้ผลแตกต่างกันตามสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติ แต่ละท่านได้เข้าถึง ยิ่งรักษาศีลได้บริสุทธิ์มาก ก็จะปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาได้สงบมาก ยิ่งถ้าเข้าถึง ธรรมะภายในที่ละเอียดมากขึ้นเท่าใด ผลที่ได้ก็มากขึ้นตามลำดับ อย่างเช่นพระภิกษุ สามเณร ที่บวชแล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม และรักษาศีลเป็นอย่างดี ก็จะ ได้อานิสงส์จนเป็นคุณสมบัติของพระภิกษุ สามเณรรูปนั้น อย่างที่เราเคยได้ศึกษาจากพระไตรปิฎกว่า พระภิกษุหรือสามเณรในสมัยพุทธกาล บางรูปมีตาทิพย์บ้าง หูทิพย์บ้าง เหาะได้บ้าง ระลึกชาติได้บ้าง แยกร่างเป็นหลายคนได้ก็มี นี่คือผลของการทำธาตุภายในให้สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งถ้าบริสุทธิ์มากที่สุดก็จะ ทำให้หมดกิเลส ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แต่ละท่านก็มีคุณสมบัติไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของธาตุภายในของท่านเหล่านั้น ดังนั้น ถ้าเราต้องการจะมีธาตุในตัวที่บริสุทธิ์ สามารถทำได้ด้วยการลงมือรักษาศีล และ ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างจริงจัง และหากว่าเราตั้งใจทำกันอย่างจริงจัง จนกระทั่งธาตุในตัว สะอาดบริสุทธิ์หมดจดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เราไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้อีก พ้นจากทะเล แห่งความทุกข์ได้ตลอดไป 2.2.3 สัตวโลกคบกันโดยธาตุ เนื่องจากสิ่งทั้งหลายแตกต่างกันเป็นเพราะว่า มีสัดส่วนของธาตุแต่ละชนิดรวมทั้งความบริสุทธิ์ สะอาดแตกต่างกัน ทำให้เกิดคุณสมบัติแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้ สิ่งต่างๆ ในโลกจึงรวมกันหรือแยกกัน เป็นประเภทตามคุณสมบัติ หรือตามธาตุที่แต่ละสิ่งมี โดยที่สิ่งที่มีคุณสมบัติเหมือนกันก็จะอยู่รวมกัน แต่ถ้าคุณสมบัติ หรือธาตุต่างกันก็จะแยกกัน อาทิเช่น สิ่งที่มีคุณสมบัติหรือธาตุเหมือนกัน เป็นต้นว่า น้ำ ถ้าเราเทน้ำออกจากภาชนะ 2 ใบ ลงในภาชนะเดียวกัน น้ำนั้นก็จะไหลเข้าไปรวมตัวกันได้อย่างกลมกลืน หรือแม้แต่น้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำจากสถานที่ต่างๆ สุดท้ายก็ไหลไปรวมกันในแม่น้ำ ในทะเล ในมหาสมุทร เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับธาตุอื่น และสิ่งทั้งหลายที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ก็อยู่ในลักษณะนี้ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเรานำธาตุที่มีคุณสมบัติต่างกันมาไว้ด้วยกัน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นจะไม่สามารถ รวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้ เป็นต้นว่าน้ำกับน้ำมันถ้าเราผสมน้ำกับน้ำมันเข้าด้วยกัน แม้ว่าจะเขย่าและใช้ความ พยายามอย่างไรเพื่อจะให้น้ำกับน้ำมันผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันน้ำกับน้ำมันก็ไม่สามารถรวมเข้าเป็นเนื้อเดียว กันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองมีธาตุหรือคุณสมบัติต่างกัน ไม่เฉพาะวัตถุสิ่งของ แม้มนุษย์และสัตว์ก็เป็นเช่นนั้น สัตว์ประเภทใดก็มีธรรมชาติเข้าไปสู่หมู่ บ ท ที่ 2 อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง จั ก ร ว า ล DOU 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More