ข้อคิดเกี่ยวกับการสร้างโลกและจักรวาลในศาสนาและปรัชญา GL 101 จักรวาลวิทยา หน้า 173
หน้าที่ 173 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องการสร้างโลกตามแนวคิดของศาสนาต่างๆ โดยเน้นไปที่พระพุทธศาสนาซึ่งไม่มีการค้นหาผู้สร้าง แต่มีเป้าหมายในการค้นหาความจริง การแบ่งยุคในการอธิบายโลกและจักรวาลแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคเทววิทยา, ยุคอภิปรัชญา, และยุควิทยาศาสตร์ ซึ่งแต่ละยุคมีลักษณะและแนวคิดที่แตกต่างกันในการอธิบายปรากฏการณ์ของโลกและมนุษย์ โดยยกตัวอย่างนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุค รวมถึงอธิบายถึงผลกระทบที่มีต่อความเชื่อในศาสนาและสังคมในแต่ละช่วงเวลา

หัวข้อประเด็น

-การสร้างโลกในศาสนา
-การแบ่งยุคในการอธิบายโลก
-แนวคิดในพระพุทธศาสนา
-ยุคเทววิทยา
-ยุคอภิปรัชญา
-ยุควิทยาศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ทุกศาสนากล่าวว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก แต่ละศาสนาก็ มีพระเจ้าคนละองค์ ซึ่งทำให้เกิดข้อขัดแย้งกันเองว่า ใครเป็นผู้สร้างกันแน่ นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ในการนำเสนอเรื่องนี้ ที่นำเสนอเพียงอยากให้ทราบแนวคิดในศาสนาต่างๆ เพื่อเสริมความรู้ให้เห็นภาพ ความรู้ในพระพุทธศาสนาเด่นชัดขึ้น พระพุทธศาสนาไม่มีวัตถุประสงค์ให้ค้นหาผู้สร้างโลก แต่มุ่งให้ค้นหา ความจริงของโลก ที่ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ซึ่งมีอันต้องเสื่อมสลายไปในที่สุด และเพื่อให้หลุดพ้นจากกฎ ไตรลักษณ์ดังกล่าว เราจึงต้องเร่งกระทำแต่ความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป 8.2 การแบ่งยุคในการอธิบายเรื่องโลก และจักรวาล มนุษย์เกิดขึ้นมาพร้อมกับความไม่รู้ที่ห่อหุ้มอยู่ในจิตใจมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยพยายามแสวงหาความ รู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ให้กับตัวเอง เรื่องการกำเนิดของโลกและจักรวาล นับว่าเป็นเรื่อง น่า สนใจเรื่องหนึ่ง ที่มีผู้พยายามอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของโลกและจักรวาลในลักษณะที่แตกต่าง กันไป สำหรับเนื้อหาในส่วนนี้จะนำเสนอ ยุคในการอธิบายเรื่องโลกและจักรวาล ที่มีนักปรัชญาได้จัดแบ่งไว้ เพื่อให้ทราบว่า มีการจัดแบ่งยุคกันอย่างไร และพระพุทธศาสนาจัดอยู่ในยุคใด นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสชื่อ ออกุสต์ กองต์ (August Comte) บิดาแห่งวิชาสังคมวิทยา ได้แบ่ง ช่วงพัฒนาการของคำอธิบายปรากฏการณ์ของโลกและจักรวาลออกเป็น 3 ยุค คือ 1. ยุคเทววิทยา (Theological Stage) เป็นยุคแรกที่นักศาสนาอธิบายการกำเนิดปรากฏการณ์ ของโลกและมนุษย์โดยเน้นว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก คำสอนศาสนาเหล่านี้มีอิทธิพลมากในยุคนี้ ดังเช่น ศาสนาพราหมณ์ในสมัยของพระพุทธเจ้าสอนว่า พระพรหมสร้างโลก หรือหลายๆ ศาสนาดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้นก็จัดอยู่ในยุคเทวนิยม 2. ยุคอภิปรัชญา (Metaphysical stage) เป็นยุคที่นักปรัชญาให้คำอธิบายเรื่องกำเนิด และปรากฏการณ์ของโลกและมนุษย์ โดยกล่าวถึงว่า สรรพสิ่งเกิดจากกฎธรรมชาติ แต่กฎเหล่านั้นเป็น นามธรรม ที่รู้ได้ด้วยการคาดคิดตามหลักตรรกศาสตร์ ในยุคนี้ปรัชญามีอิทธิพลต่อความเชื่อของมนุษย์ แม้แต่ศาสนาก็พยายามผูกมิตรกับปรัชญา ดังที่ศาสนาคริสต์ได้นำเอาปรัชญาของพลาโตและอริสโตเติล มาช่วยอธิบายตีความคัมภีร์ไบเบิล พระพุทธศาสนาในอินเดียได้พัฒนาไปเป็นสำนักพุทธปรัชญาทั้ง ฝ่ายเถรวาทและมหายาน 3. ยุควิทยาศาสตร์ (Scientific Stage) เป็นยุคที่นักวิทยาศาสตร์ให้คำอธิบายเรื่องการกำเนิด และปรากฏการณ์ของโลกและมนุษย์ โดยการกล่าวอ้างข้อมูลในเชิงรูปธรรมที่ได้มาจากการสังเกต และ พิสูจน์ทดลอง ยุคนี้เริ่มต้นเมื่อ 400 ปีที่แล้ว และสืบต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อันที่จริงวิทยาศาสตร์ได้เจริญ บ ท ที่ 8 สรุปสาระสำ คั ญ จ า ก ก า ร ศึ ก ษ า จั ก ร ว า ล วิ ท ย า DOU 163
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More