ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย
เป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด
กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้
พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งเรื่องทั้งปวง แสดงว่าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้
พระองค์ทรงสอนธรรมนิยาม เน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตนิยามและกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่อง
อุตุนิยามและพืชนิยามเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมนิยามเน้นในส่วนที่
เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามและสนใจในจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกัน
ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พระพุทธศาสนามองภาพรวมของโลกและชีวิตได้กว้างขวางมากกว่า
ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่
กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องกรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้น พระพุทธศาสนา
ก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพืชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธศาสนาจึง
ไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์
จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้ ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง
ของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบ
แล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังได้ข้อคิดแนวทางในการ
ปฏิบัติธรรมอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องหลักในชีวิต
1.3.3 แหล่งที่มาของความรู้เรื่องจักรวาลวิทยา
การศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ ในโลก เรียนด้วยการใช้วัตถุนอกตัวเป็นอุปกรณ์ในการทดลอง ค้นคว้า
พิสูจน์ วิจัย ความรู้ที่ได้จึงมีทั้งถูกและผิด ซึ่งถ้าถูกก็เป็นเพียงบางแง่มุมที่ไม่ลึกซึ้ง และไม่รู้ตลอดใน
ความจริงทั้งหมด รู้เป็นท่อนๆ เป็นช่วงๆ เพราะว่าเครื่องมือที่ใช้ศึกษานั้นมีขีดความสามารถจำกัด
ยังมีการศึกษาอีกแขนงหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงที่ถูกต้อง คือ การศึกษาทางจิต ซึ่งไม่
ต้องอาศัยอุปกรณ์ใดๆ ขอเพียงมีจิตที่มีสภาพใสเป็นปกติ มีใจที่แน่วแน่มั่นคง ดำรงสติตั้งมั่น ประกอบ
ความเพียรไม่ถอนถอยอย่างถูกวิธี แค่เริ่มต้นเท่านี้ ก็จะค้นพบหลักความจริงของชีวิตอย่างคาดไม่ถึง
เมื่อประสบผลสำเร็จ ความรู้ที่เกิดขึ้นจะปรากฏเป็นภาพขึ้นภายในใจ ภาษาทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า
ญาณทัสสนะ คือ การรู้เห็นด้วยอำนาจจิต
ถ้าเราเป็นบุคคลในยุควิทยาศาสตร์ฟังแล้วอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า จิตเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ
ในการค้นหาความจริงดังที่กล่าวมาแล้วได้อย่างไร ขออธิบายการทำงานของจิตสักนิดว่า ลักษณะเดิม
บ
บ ท ที่ 1 ค ว า ม รู้เ
เบื่อ ง ต้ น เ รื อ ง จั ก ร ว า ล วิ ท ย า
เรื่อ
DOU 15